ต้อนรับวันสงกรานต์ 13-15 เมษานี้

ต้อนรับวันสงกรานต์ 13-15 เมษานี้
วันสงกรานต์เป็นราชพิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีในเดือนห้า ตามที่ปรากฏในหนังสือนางนพมาศ เดิมเป็นประเพณีของอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งพระสงฆ์ไทยได้นำพิธีมาจากลังกา และเข้ามาเป็นพระราชประเพณี และประเพณีของไทย เพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แบบโบราณ ตามจารีตประเพณีโบราณไทยเราเคยถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ที่ถือฤดูเหมันต์เป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาจารีตนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ โดยใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ครั้นเมื่อเราเริ่มปีใหม่ตามเกณฑ์จุลศักราช ปีใหม่ก็ตกราววันที่ 13 เมษายน เป็นประเพณีวันสงกรานต์มี 3 วันคือ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนาและวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกคือเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ในส่วนของราชพิธีมีการตั้งเครื่องบูชาพระพุทธรูปด้วยการถวายข้าวบิณฑ์ การก่อพระเจดีย์ทราย การขนทรายเข้าถมลานวัด ซึ่งเดอมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า และเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยมีการพระราชกุศล เช่นมีการสรงน้ำในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น.

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ว.40 ปรีดีพนมยงค์25.

Photobucket
11.45 28/10/2009.
ศูนย์ฯ จาก 20-41 ว.4 ร่วม ปรีดีพนมยงค์25 พร้อม 20-42,20-38,16-69,75-30,18-30,23-61,คลองตัน 013,พระราม2-170 เปลี่ยนนนน.

Photobucket

ช่วยกันอย่างเต็มที่. ทำได้ไงชนแล้วหนีพร้อมเอกสารคนเจ็บ พระราม9 23-61 ว.15 ตามกลับมาพร้อมเอกสาร
รถ น.นำส่ง รพ วิภาราม รับรักษา.

Photobucket

เอาเอกสารของผมคืนมา.
พระราม9 16-69 ปฐมพยาบาลซะรอบตัวเลยนะ

ว.40 แถวสี่แยกรัชดาพระราม 3.

Photobucket

คงเจ็บน่าดู อดทนหน่อยนะ กำลังช่วย. ไอ้คนชนมันไปไหนวะไม่มาดูใจกันบ้างเลย อูยยยยส์.
ช่วยกันประคองหน่อยครับ

Photobucket

กับข้าวกับปลาเต็มถนน แล้วตอนเที่ยงจะกินไร.
อาสาที่ ว.4 ร่วมกำลังช่วยกันอย่างขมักขเม้น ศูนย์ฯ 24นี้ ว.39 ครับเพิ่มเติมจะ ว.6 ให้ทราบ เปลี่ยนนนนน.

Photobucket

หวัดดีครับพี่แว่น...

28/10/2009 พระราม9 75, 20-38, พระราม2-170. เวลา 07.30 น. ว.4 ร่วม ว.40 รถเก๋งสวนบุคคลเฉี่ยวชน จยย. ได้รับบาดเจ็บเป็นชาย และได้หลบหนีตามนิสัยที่......
อาสาที่ ว.4 ร่วม ว.10 ได้แจ้งรถ น. รพ เลิดสิน รับรักษาต่อไป.
QRU 73, ว.61 อาสาทุกท่านทุกนายไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ.

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การรายงานสัญญาณด้วยระบบ RST (RST System)


การรายงานสัญญาณด้วยระบบ RST (RST System)

เนื่องจากในการติดต่อสื่อสารทางระบบวิทยุโทรศัพท์ไม่มีสัญญาณวิทยุโทรเลข (สัญญาณรหัสมอร์ส) จึงตัดตัว T ที้งไปจึงเรียกว่าระบบ RS และนิยมดูค่า S จาก S- Meter ของเครื่องรับวิทยุ ซึ่งจะมีสเกลจาก 1 ถึง 9 ส่วนที่เกินจาก 9 ก็จะเสดงเป็น dB เช่น +10 db,+20dB เป็นต้น

R = ความชัดเจนในการรับฟัง (READABILTY) มี 5 ระดับคือ

1. ไม่ได้เลย
2. ไม่ค่อยดี (รับแทบไม่ค่อยได้เลย)
3. พอใช้ (รับข้อความได้ด้วยความลำบากมาก)
4. ดี (รับข้อความได้สบาย)
5. ดีเยี่ยม (รับข้อความได้สมบูรณ์ยิ่ง)

S = ความแรงของสัญญาณที่รับได้ (SIGNAL STRENGTH) มี 9 ระดับคือ

1. อ่อนมากจนแทบรับไม่ได้ (Faint signals)
2. อ่อนมาก (Very weak signals)
3. อ่อน (Weak signals)
4. พอใช้ได้ (Fair signals)
5. ดีพอใช้ (Fairly good signals)
6. ดี (Good signals)
7. แรงปานกลาง (Moderately strong signals)
8. แรงดี (Strong signals)
9. แรงดีมาก (Extremely strong signals)
T = ความแจ่มใสของเสียงสัญญาณวิทยุโทรเลข (TONE) มี 9 ระดับคือ

1. เสียงพร่ามาก มีคลื่นความถี่ต่ำผสมมาด้วย
2. เสียงพร่ามาก
3. เสียงพร่ามาก เหมือนใช้แรงดันไฟที่ไม่มีการกรองให้เรียบเลย
4. เสียงพร่าและยังกระเพื่อมอยู่
5. เสียงยังกระเพื่อมอยู่มาก
6. เสียงยังกระเพื่อมอยู่เล็กน้อย
7. เกือบดียังกระเพื่อมอยู่บ้าง
8. เกือบดีแล้ว
9. ดีมากไม่มีตำหนิ (Perfect tone)
ในบางครั้งเราอาจจะเจอ ตัวอักษร 3 ตัวนี้ต่อท้าย การรายงาน แบบ RST คือ

X = the signal is rock steady like a crystal controlled signal
C = the signal is chirpy as the frequency varies slightly with keying
K = the signal has key clicks
ตัวอย่างเช่น 579C หรือ 579K

โดยทั่วไป การรายงานสัญญาณ RST เราจะในรูปแบบของอักษรย่อ เช่นรับสัญญาณได้ 599 เราจะ แทนด้วย 5NN (N แทนเลข 9 ) เป็นการประหยัดเวลาในการส่ง
1 = A, 2 = U, 3 = V, 4 = 4, 5 = E, 6 = 6, 7 = B, 8 = D, 9 = N, 0 = T

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รวมคลิบเหตุต่างๆ


เด็กตกจากที่สูง

เหตุ 200 24-25/09/2009

พระราม9 20-41 ว.4 ร่วม กรณี เด็กตกจากที่สูง และ เหตุ 200 พร้อมถ่ายคลิบวิดีโอไว้ได้ที่ผ่านการเซ็นเซอร์เรียบร้อยแล้ว จึงนำมาเผยแพร่มาให้ชมกันครับ.
มี ว.8 ใดเชิญได้นะครับ.

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ว.40 ปรีดีพนมยงค์ 26


ร่วมด้วยช่วยกันมาช่วยแล้ว

เกือบตายแล้วเรา.............

แซนวิช ขนมปังแท็กซี่ ใส้มอเตอร์ไซค์.........

เมื่อวันที่16/10/2009, 19.40 น. มี ว.40 ที่ถนนสุขุมวิท 71, ปรีดีพนมยงค์ 26.
20-42 พร้อมทีมงาน ได้ ว.4 ร่วมที่เกิดเหตุ.
แท็กซี่จำนวน 2 คันได้แซนด์วิชจักรยานยนต์ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ไม่รู้รอดมาได้ไง!!!นายแน่มาก.
ยกเลิก ว.10, ว.45, ว.61 ทุกท่านทุกนายครับ.

เนื้อเพลง Whatever Will Be, Will Be

When I was just a little girl
เมื่อฉันยังเป็นเด็กน้อย
I asked my mother what will I be
ฉันถามแม่ว่าอนาคตฉันจะเป็นอะไร
Will I be pretty, will I be rich
"หนูจะสวยไหม หนูจะรวยไหม"
Here's what she said to me
แม่ก็บอกฉันว่า
*Que sera, sera
สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด
Whatever will be, will be
อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด
The future's not ours to see
เราไม่อาจหยั่งรู้อนาคตได้
Que sera, sera
สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด
What will be, will be
อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด
When I grew up and fell in love
เมื่อฉันโตขึ้นและมีความรัก
I asked my sweetheart what lies ahead
ฉันถามที่รักของฉันว่าอนาคตของเราจะเป็นอย่างไร
Will we have rainbows day after day
"เราจะมีความสุขด้วยกันตลอดไปไหม"
Here's what my sweetheart said
สิ่งที่คนรักของฉันบอกก็คือ
*Que sera, sera
สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด
Whatever will be, will be
อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด
The future's not ours to see
เราไม่อาจหยั่งรู้อนาคตได้
Que sera, sera
สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด
What will be, will be
อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด
Now I have children of my own
ตอนนี้ฉันมีลูกเป็นของตัวเองแล้ว
They asked their mother what will I be
พวกเขาถามแม่ของเขาว่าโตขึ้นเขาจะเป็นอะไร
Will I be handsome, will I be rich
"ผมจะหล่อไหม ผมจะรวยไหม"
I tell them tenderly
ฉันก็ตอบพวกเขาอย่างอ่อนโยนว่า
*Que sera, sera
สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด
Whatever will be, will be
อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด
The future's not ours to see
เราไม่อาจหยั่งรู้อนาคตได้
Que sera, sera
สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด
What will be, will be
อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ตารางอบรมและสอบ VR ปี 2553


10 มกราคม 2553 จังหวัดราชบุรี HS7AR Tel.032232272,0897414778
30 มกราคม 2553 จังหวัดพังงา HS8AP Tel.0818916361,0813978878
13 กุมภาพันธ์ 2553 จังหวัดจันทบุรี HS2AB Tel.0817235175,039313528
27 กุมภาพันธ์ 2553 จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ HS7AJ Tel.032688625
20 มีนาคม 2553 จังหวัดกาฬสินธ์ HS4AG Tel.0819754027, 0850125963
3 เมษายน 2553 จังหวัดกรุงเทพ ARA HS1AB Tel.024559700-3
24 เมษายน 2553 จังหวัดระนอง HS8AR Tel.0817887272,0810903000
15 พฤษภาคม 2553 จังหวัดลพบุรี HS1AL Tel.0894527878,0841379594
5 มิถุนายน 2553 จังหวัดยะลา HS9AY Tel.0894632444,0898765209
26 มิถุนายน 2553 จังหวัดนครสวรรค์ HS6AN Tel.056220099
17 กรกฎาคม 2553 จังหวัดชลบุรี HS2AC Tel.038249162-3,0817814360
7 สิงหาคม 2553 จังหวัดนราธิวาส HS9AN Tel.0857974001,0816782427
28 สิงหาคม 2553 จังหวัดฉะเชิงเทรา HS2AS Tel.0819357469
18 กันยายน 2553 จังหวัดยโสธร HS3AY Tel.045709103
9 ตุลาคม 2553 จังหวัดลำปาง HS5AM Tel.054219367,0816034739
30 ตุลาคม 2553 จังหวัดสมุทรปราการ HS1AM Tel.0818301556,0898222384
13 พฤศจิกายน 2553 จังหวัดเพชรบูรณ์ HS6AB Tel.0817273138,0866801968
27 พฤศจิกายน 2553 จังหวัดเชียงราย HS5AR Tel.0814683928,0846102732
18 ธันวาคม 2553 จังหวัดสระบุรี HS1AR Tel.036312785

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

23 ตุลาคม วันปิยะมหาราช พระราชบิดาแห่งการโทรคมนาคมไทย

23 ตุลาคม วันปิยะมหาราช พระราชบิดาแห่งการโทรคมนาคมไทย

โดย ปรเมศวร์ กุมารบุญ

ในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ ๕) วิลเลี่ยม เฮนรี่ รีด กลับมาอีกครั้ง เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างระบบโทรเลขในสยามภายใต้เงื่อนไขเดิมที่ให้ไว้กับในหลวงรัชกาลที่ ๔ แต่ครั้งนี้พระองค์ทรงปฏิเสธ ดังปรากฏในหนังสือ ประวัติ และวิวัฒนาการการไปรษณีย์ไทย ว่า “ทรงพระราชดำริพร้อมด้วยเคาซิลว่า ไม่ควรให้มิสเตอร์รีดจัดทำ แต่ครั้นจะไม่ทรงยอมมีพระบรมราชานุญาตตรงๆ คำที่ทรงยอมไว้แต่เดิมในรัชกาลก่อน (รัชกาลที่๔) ก็จะเสียไป จึงทรงบ่ายเบี่ยงไปว่า สยามตกลงจะดำเนินกิจการโทรเลขเอง ไม่อาจอนุมัติให้ มิสเตอร์รีด จัดทำได้” ทั้งนี้เพราะเงื่อนไขเดิมของรีดระบุว่า หลังจากดำเนินการสร้างสายโทรเลขเสร็จ อังกฤษจะมีสิทธิเต็มที่ในทรัพย์สินและสามารถจัดตั้งบริษัทก่อสร้าง และบำรุงรักษาสายโทรเลขที่วางผ่านจังหวัดต่างๆ ได้แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ อาจทรงเห็นว่าเป็นเสียเปรียบเกินไป
เมื่อปฏิเสธมิสเตอร์รีดแล้ว สยามจึงต้องเริ่มวางระบบโทรเลขทันที โดยขอประสานการดำเนินกิจการกับบริษัทกิจการโทรเลขแห่งหนึ่งในสหพันธรัฐมลายา (มาเลเซีย) แต่ครั้งนั้นก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จจนต้องหยุดโครงการไปพักใหญ่ และกลับมาเริ่มต้นจริงจังอีกครั้งเมื่อ เมอซิเออร์กาเนียร์ กงสุลฝรั่งเศส เข้ามาเจรจาในปีเดียวกัน ดังปรากฏบันทึกในหนังสือที่ระลึก ๑๐๐ ปี การโทรคมนาคมของการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า “ทางการเมืองไซ่ง่อนปรารถนาจะสร้างสายโทรเลขต่อเข้ามาในประเทศไทย การเดินสายโทรเลขในเขตของไทย รัฐบาลฝรั่งเศสรับเป็นธุระจัดสร้างให้เสร็จ เพียงแต่ขอความช่วยเหลือให้ประเทศไทยตัดเสาที่จะพาดสายให้เท่านั้น

เมื่อทำการแล้วเสร็จก็จะยกทางสายโทรเลขให้เปล่าตั้งแต่เขตแดนเขมรเข้ามาจนถึงกรุงเทพฯ” ส่งผลให้ “รัฐบาลอังกฤษซึ่งเป็นคู่แข่งขัน ยื่นหนังสือขอให้งดการที่จะรับทำกับฝรั่งเศสเสีย และว่ารัฐบาลอังกฤษที่ประเทศอินเดีย จะขอสร้างสายโทรเลขติดต่อกับไทยเข้ามาทางเมืองทวายบ้าง”

เพื่อตัดปัญหาที่เกิดขึ้น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างระบบโทรเลขด้วยพระองค์เองทันที โดยให้อยู่ในความดูแลของกรมกลาโหม จากนั้นได้ทำการวางสายโทรเลขสายแรก ในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ คือ สายกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ความยาว ๔๕ กิโลเมตร ต่อมาได้ขยายเส้นทางเดินสายไปถึงแหลมภูราย จากนั้นได้ทอดสายลวดใหญ่ใต้น้ำ (เคเบิลใต้น้ำ) ต่อออกไปจนถึงประภาคารที่ปากน้ำเจ้าพระยา และสายที่ ๒ คือ สายกรุงเทพฯ-บางปะอิน และขยายต่อไปจนถึงพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ โดยในระยะแรกจะมีการใช้โทรเลขในทางราชการเท่านั้น จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๖ จึงเปิดโทรเลขสายตะวันออก (กรุงเทพฯ-ไซ่ง่อน) เป็นบริการสาธารณะ โทรเลขสายนี้ยังถือเป็นสายแรกของไทยที่สามารถติดต่อกับต่างประเทศได้โดยตรงอีกด้วย นับแต่นั้น โทรเลขก็กลายเป็นระบบการสื่อสารสำหรับคนทุกระดับชั้น ตั้งแต่กษัตริย์ถึงสามัญชน

จนกระทั่งได้เปิดให้มีบริการสำหรับประชาชนเป็นครั้งแรก เมื่อ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ โดยมีอัตราค่าบริการ “คำละ ๑ เฟื้อง” จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเป็น “กรมโทรเลข” และมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการกรมโทรเลข จากนั้นกลาโหมได้เริ่มมีการนำโทรศัพท์เข้ามาเพื่อแจ้งข่าวเรือเข้าออกระหว่างปากน้ำ สมุทรปราการ กับ กรุงเทพฯ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๔ และมอบให้กรมโทรเลขดูแลต่อ

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ดัมมีโหลด


ดัมมีโหลด คือ อุปกรณ์ที่ใช้ต่อแทนสายอากาศในขณะปรับแต่งและทดสอบเครื่องรับ-ส่งวิทยุ มีค่าความต้านทาน 50 โอห์ม

การใส่ Dummy load เข้าไปแทนสายอากาศจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนออกมา และไม่ส่งสัญญาณออกไปรบกวนเพื่อนที่เฝ้าฟังหรือใช้ความถี่นั้นๆครับ

Dummy load ที่ใช้งานได้ดี จะต้องมีค่าอิมพิแดนซ์ 50 โอห์มคงที่ตลอด(อย่างที่คุณต้นหญ้าแจ้ง) และเมื่อนำมาวัดค่า SWR ต้องไม่เกิน 1.1 : 1 ครับ

อีกส่วนหนึ่งที่ต้องดู คือ กำลังส่งสูงสุดที่ใช้งานได้ จะถูกกำหนดไว้ด้วยครับ เอา Dummy load ที่ทนกำลังส่งได้ต่ำ มาวัดเครื่องกำลังส่ง 85 วัตต์ ก็ไม่ได้ครับ

เครื่องวัดวัตต์เครื่องวิทยุสื่อสาร Dummy Load
สำหรับวัดวัตต์วิทยุสื่อสารได้ถึง 300 วัตต์
โดยต่อแทนสายอากาศวิทยุสื่อสารของท่าน
เพื่อเช็คว่าวิทยุสื่อสารท่านวัตต์ปกติหรือไม่
ปกติจะใช้ร่วมกับเครื่องวัด SWR.
ใช้ได้ตั้งแต่ความถี่ 1-650 MHz

มาทดลองทำดัมมี่โหลดใช้กันเถอะ

มาทดลองทำดัมมี่โหลดใช้กันเถอะ
สิ่งที่ต้องเตรียม
• ตัวต้านทาน (R) 1K2W1% จำนวน 20 ตัว (สำหรับ 40 วัตต์) หรือ 2K2W1%จำนวน 40 ตัว (สำหรับ 80 วัตต์)
• ชุดการบัดกรี หัวแร้ง,ตะกั่วบัดกรี,ตะไบ,ฟลั๊กบัดกรี,ครีมตัด
• หัว PL259 (ขนาดสำหรับ RG8)
• เครื่องวัด SWR หรือ มัลติมิเตอร์ระบบดิจิตอล
• ท่อหดขนาด 25 ม.ม. ตัดยาว 50 ม.ม. 1 ชิ้น
สาย RG8 ยาว 50 ม.ม. 1 ชิ้น

วิธีการทำก็แสนง่าย
• นำสาย RG8 ที่ตัดไว้มาปลอกเปลือกออกให้เหลือแต่ฉนวนและอินเนอร์ ดังรูป ก.
• นำหัว PL259 มาตะไบตรงรอบๆ ด้านที่สวมด้านบนพอประมาณ แล้วเอาฟลั๊กบัดกรีทารอบบริเวณเพื่อจะทำการบัดกรีไว้รองรับตามรูปที่ 2 (ก) นำสาย RG8 ที่เตรียมไว้มาบัดกรีกับขั้วรูปที่ 1 (ข) มาใส่ทำการบัดกรี
• เมื่อเสร็จในรูป (ก) แล้วนำเอาตัวต้านทาน 1K (R) มาตัดตามรูป (ข) บัดกรีเข้ากับหัว PL259 ด้าน A ส่วนด้าน B บัดกรีตอนเสร็จทุกตัวแล้วทำการบัดกรี ใช้ (R) ประมาณ 12 ตัว โดยรอบ
• ทำแบบเดียวกับรูป (ข) รอบที่ริมของรูป ค ไปจนหมด (R) อีก 8 ตัว จะมีลักษณะเหมือนดังรูป ง แล้ตกแต่งบัดกรีให้เรียบร้อยสวยงามตามสายตาเรา
• ทดสอบโดย การใช้เครื่อง VSWR วัด ซึ่งใช้ต่อแทนสายอากาศ ถ้าทดสอบแล้วได้ค่า 1: 1 ถือว่าใช้ได้ ถ้าไม่มี VSWR อยากจะรู้ว่าได้ค่า 50 โอห์ม หรือเปล่าให้ใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล วัดค่าได้ค่าใกล้เคียง 50 โอห์มบวกลบไม่เกิน 1 ถือว่าใช้ได้
เมื่อเสร็จจากการตรวจสอบว่าผ่านแล้รอบนี้ เป็นการจัดให้เข้ารูปทรงที่สวยงาม โดยใช้ท่อหดที่ตัดเอาไว้แล้วมาสวมหุ้มที่ (R) แล้วใช้ไฟแช็คลนรอบๆ พอยืด

ความถี่วิทยุสมัครเล่น.

กรมไปรษณีย์โทรเลขได้กำหนดให้นักวิทยุสมัครเล่นใช้ความถี่ได้ 144.000-146.000 MHz.

ความถี่นี้เป็นช่องความถี่ใหม่ที่เพิ่งประกาศใช้ อย่าเพิ่งงง!!! กับตัวเลขเชียวครับ

" และอย่าเพิ่งใช้กำลังส่งสูงนักนา!!!.....เดี๋ยวจะไปกวนชาวบ้านเขา แล้วจะว่าไม่บอกกัน "


ช่อง MHz. ช่อง MHz. ช่อง MHz.
1 144.0750 41 144.5750 81 145.1750
2 144.0875 42 144.5875 82 145.1875
3 144.1000 43 144.6000 83 145.2000
4 144.1125 44 144.6125 84 145.2125
5 144.1250 45 144.6250 85 145.2250
6 144.1375 46 144.6375 86 145.2375
7 144.1500 47 144.6500 87 145.2500
8 144.1625 48 144.6625 88 145.2625
9 144.1750 49 144.6750 89 145.2750
10 144.1875 50 144.6875 90 145.2875
11 144.2000 51 144.7000 91 145.3000
12 144.2125 52 144.7125 92 145.3125
13 144.2250 53 144.7250 93 145.3250
14 144.2375 54 144.7375 94 145.3375
15 144.2500 55 144.7500 95 145.3500
16 144.2625 56 144.7625 96 145.3625
17 144.2750 57 144.7750 ช่องกิจกรรมพิเศษ กิจกรรมพิเศษ
18 144.2875 58 144.7875 97 145.3750
19 144.3000 59 144.8000 98 145.3875
20 144.3125 60 144.8125 99 145.4000
21 144.3250 61 144.8250 100 145.4125
22 144.3375 62 144.8375 101 145.4250
23 144.3500 63 144.8500 102 145.4375
24 144.3625 64 144.8625 103 145.4500
25 144.3750 65 144.8750 104 145.4625
26 144.3875 66 144.8875 105 145.4750
27 144.4000 เรียกขาน/เหตุทั่วไป
144.9000 106 145.4875
28 144.4125 68 144.9125 ความถี่ทวนสัญญาณ ภาคส่ง / ภาครับ
29 144.4250 69 144.9250 107 145.0250/145.6250
30 144.4375 70 144.9375 108 145.0375/145.6375
31 144.4500 71 144.9500 109 145.0500/145.6500
32 144.4625 72 144.9625 110 145.0625/145.6625
33 144.4750 73 144.9750 111 145.0750/145.6750
34 144.4875 74 144.9875 112 145.0875/145.6875
35 144.5000 เรียกขาน / ฉุกเฉิน 145.000 113 145.1000/145.7000
36 144.5125 76 145.0125 114 145.1125/145.7125
37 144.5250 77 145.1250 สื่อสารประเภทอื่น 145.5000-145.6125
38 144.5375 78 145.1375 สื่อสารประเภทอื่น 145.7250-145.8000
39 144.5500 79 145.1500 สื่อสารผ่านดาวเทียม 145.8000-146.0000
40 144.5625 80 145.1625 สื่อสารผ่านดาวเทียม 435.000-438.000

QSL CARD.


คือ บัตรยืนยันการติดต่อระหว่างคู่สถานี

ในสมัยก่อนมีน้อยมาก มาถึงปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จุดสำคัญของ QSL CARD
อยู่ที่ความสมบูรณ์ของ วัน....เดือน....ปี....เวลา....ความถี่รีพอร์ตสัญญาณ...สถานที่ติดต่อกัน
ระหว่างคู่สถานีและที่อยู่ส่งกลับ
ไม่มี QSL CARD ที่ไหนที่ให้ข้อมูลครบถ้วนชัดเจนที่สุด เพราะ ส่วนใหญ่แล้วมีข้อมูล
ที่จำเป็นเท่านั้น เช่น
ระบบการส่งความถี่
AM - การส่งในระบบ AM หรือ A3E
FM - การส่งระบบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ในย่านความถี่สมัครเล่น FM หรือ F3E
USB - การส่งระบบ SINGLE SIDE BAND หรือ J3E
LSB - การส่งระบบ LOWER DIDE BAND หรือ J3E ใช้ในการทำ DX เท่านั้น
และความถี่ต่ำกว่า 10 MHz.
SWL - ระบบการฟังด้านเดียว SHORT WAVE LISTENER
OTHER - เป็นระบบอื่นๆ
QSL/PROG NO - PROGRESSIVE NUMBER ใช้ในการ DX
เป็นการเรียงลำดับการติดต่อ
QSL NO - การเรียงลำดับหมายเลขของ QSL CARD ของเรา
QRM - สัญญาณรบกวนที่เกิดจากคน
GRN - สัญญาณรบกวนที่เกิดจากประจุไฟฟ้าในอากาศ
OP - ชื่อพนักงานวิทยุที่ติดต่อสื่อสารกัน
TX/PX - คือเครื่องส่ง,เครื่องรับ
POSITION - ตำแหน่งสถานที่อยู่ หรือ QTH
UTC - เวลามาตรฐาน
R - การฟังข้อความหรืออ่านข้อความ
S - ความแรงของสัญญาณ
T - น้ำเสียงของสัญญาณระหัสมอร์ส ใช้ติดต่อแบบ CW
ANT - สายอากาศ
FREQ - ความถี่
TST - Thai standard time นิยมใช้ในระบบคอมพิวเตอร์
GMT - เวลาตามนาฬิกาเมืองกรีน อิจ ใกล้กับลอนดอน
QSO - การติดต่อโดยตรง
CONFIRMING QSO - เป็นการยืนยันการติดต่อสื่อสารกัน

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อุบัติเหตุ รถไฟตกราง ที่สถานีรถไฟเขาเต่า

อุบัติเหตุ รถไฟตกราง ที่สถานีรถไฟเขาเต่า ต.หนองแก อ.หัวหิน มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก หลังรับแจ้งจึงนำกำลังหน่วยกู้ชีพและเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยของมูลนิธิ
เมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 5 ตุลาคม 2552 ศูนย์วิทยุกรุงเทพมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งรับแจ้งจากศูนย์พญาอินทรีย์ว่ามีอุบัติเหตุรถไฟตกราง ที่สถานีรถไฟเขาเต่า ต.หนองแก อ.หัวหิน มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก หลังรับแจ้งจึงนำกำลังหน่วยกู้ชีพและเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยของมูลนิธิฯ รุดไปยังที่เกิดเหตุ เมื่อไปถึงพบขบวนรถไฟด่วนจำนวน 14 โบกี้ ในจำนวนนี้ตกราง 8 โบกี้ และอีก 6 โบกี้พลิกตะแคง อยู่ในสภาพพังยับเยิน และพบว่าผู้ได้รับบาดเจ็บได้ลำเลียงออกไปบ้างบางส่วนแล้วจากกู้ภัยหัวหิน กู้ภัยปราณบุรี และหน่วยกู้ชีพจากโรงพยาบาลต่างๆ แต่ยังมีผู้เสียชีวิตซึ่งติดอยู่ในซากโบกี้รถไฟยังไม่สามารถนำร่างออกมาได้ เจ้าหน้าที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จึงใช้อุปกรณ์เครื่องตัดถ่างเพื่อช่วยเหลือนำร่างผู้เสียชีวิตออกมา แต่การใช้อุปกรณ์เป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากตัวโบกี้รถไฟมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก และสถานที่เกิดเหตุนั้นต้องมุดเข้าไปใต้ตู้โบกี้รถไฟที่ทับผู้เสียชีวิตอยู่ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายได้ทุกเมื่อหากคานทียันเอาไว้เกิดหลุดหรือไหลลื่นลงมา ทีมกู้ภัยมูลนิธิฯ ร่วมกับเจ้าหน้ากู้ภัยต่างๆ ใช้เวลาอยู่ประมาณ 3 ชั่วโมงจึงนำร่างออกจากใต้ตู้โบกี้รถไฟได้
Photobucket เหลือเท่านี้!!!


จากการสอบสวนทราบว่า รถไฟขบวนดังกล่าวออกจาก จ.ตรัง เมื่อเวลา 17.20 น. วันที่ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมา ก่อนเกิดเหตุวิ่งมาด้วยความเร็วสูงก่อนจะถึงสถานีเขาเต่า ประมาณ 100 เมตร ก็เกิดอุบัติเหตุตกรางขึ้น ส่วนสาเหตุในเบื้องต้นคาดว่าอาจมาจากการสับรางในระยะกระชั้นชิด หรืออุปกรณ์สับหลีกรางอาจไม่ทำงาน เมื่อมาถึงจุดสับรางขบวนรถจึงเกิดเหตุสลดขึ้น เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ยอดรวมมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 68 ราย และเสียชีวิตเป็นหญิงทั้งสิ้น 7 ราย
Photobucket นื่แหละกองทัพไทย สามัคคีคือพลัง.

Photobucket รถไฟสายด่วน......

Photobucket กำลังกู้....พร้อมอุปกรณ์

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไฟไหม้เต๊นรถที่พระราม 2




คืนนี้ก็เป็นอีกหนึ่งคืนที่มี ว.202 ที่เต๊นรถพระราม 2

ในความกระตือรือร้นของหน่วยอาสาต่างๆดูแล้วทำให้มีกำลังใจเพิ่มขึ้นอีกอักโข ขอคาราวะทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย.




วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความถี่ CB 245

ความถี่ CB 245
กรุงเทพมหานคร 01/80 จส.100
02/80 ศูนย์ฉิมพลี
03/80 ศูนย์กู้ภัยพหลฯ
09/80 ศูนย์วีอาร์ จราจร
10/80 ศูนย์กู้ชีพบูรณะ/ศูนย์ ซีบี เจริญนคร/ศูนย์ทุ่งครุ
12/80 ศูนย์มีนบุรี
14/80 ศูนย์ประกันกลาง
16/80 ศูนย์พิรุณ
18/80 ฮิปโป/ฮิตาชิ/และสมาชิกเขตทุ่งครุ
25/80 ศูนย์ตุ๊กตายาง
36/80 ศูนย์ร่วมด้วยฯ/กู้ภัยทรัพย์สนอง/สมิตติเวช
39/80 ศูนย์ชาลีกรุงเทพ
44/80 44สัมพันธ์กรุงเทพ
47/80 ศูนย์แจ้งข่าวดอนเมือง
48/50 ศูนย์พุฒตาล
49/80 ศูนย์พญาอินทรีย์
50/80 ศูนย์กู้ชีพศรีวิชัย 1/ศูนย์พุธไท
51/80 ศูนย์กู้ชีพศรีวิชัย 2
52/80 ศูนย์กู้ชีพวิภาวดี/กู้ชีพวิภาวดีราม
53/80 กังสดานกรุงเทพ
54/80 ศูนย์พระราม 2
57/80 Golden Antenna (ร่วมกับ กู้ชีพมหาชัย1)
69/80 ศูนย์กู้ชีพมหาชัย 2/ศูนย์ร่วมด้วยฯพัทยา
70/80 ศูนย์บรรเทาพรหมทาน
73/80 ศูนย์ร่วมปทุมฯ
77/80 ศูนย์เหยี่ยวเวหา
79/80 ศูนย์วิทยุอาร์ คอม กรุงเทพ
80/80 ศูนย์วิทยุพระรามเก้า

จังหวักกระบี่

55/80 ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว
63/80 โรงเรียนอิสรานุสรณ์
80/80 เรียกขาน กาฬสินธุ์
19/80 กู้ภัยเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น
05/80 (ไม่แน่ใจว่าความถี่บ้าน)
23/80 ศูนย์รักษาความปลอดภัย
31/80 ศูนย์รักษาความปลอดภัยมะลิวัลล์
35/80 ศูนย์เหยี่ยวเวหา
46/80 แก่นทิพย์
80/80 ศูนย์นารายณ์

จังหวัดชลบุรี

07/80 ศรีราชา
09/80 เพื่อนๆในนิคมอมตะนคร
45/80 พญาค้างคาว(สัตหีบ)
53/80 กังสดาล ศรีราชา
55/80 EN(พัทยา)
61/80 โลมา(พัทยา)
62/80 ศูนย์ชาญชล อบต.สัตหีบ
79/80 ศูนย์อมตะ จังหวัดเชียงราย
55/80 มูลนิธิพุทธญาณร่วมกุศลสงเคราะห์เชียงราย จังหวัดเชียงใหม่
04/80 ศูนย์กู้ภัยหยาดฟ้า
09/80 กู้ภัยนครพิงค์ อปพร.

เชียงใหม่

43/80T10 ศูนย์กู้ภัยพิงค์นคร
48/80 ศูนย์ Spark
51/80 ศูนย์เหยี่ยวข่าวสารภี
69/80 กู้ภัยวิหกสายฟ้า
71/80 ศูนย์กู้ภัยสันกำแพง
73/80 ชมรม CB ล้านนา
79/80 ชมรม CB เชียงใหม่ จังหวัดตราด
19/80 จังหวัดนครปฐม
53/80 พญายม (นครปฐม กรุงทุ่มแบน อ้อมน้อย อ้อมใหญ่ พุทธมลฑล ศาลายา)

จังหวัดนครราชสีมา

01/80 หน่วยกู้ภัย ฮุก31 โคราช 24 ชม.
07/80 กู้ภัยด่านขุนทด (กู้ภัย ปริสุทโท)
18/80 ศูนย์กู้ชีพ EMS 1669 ร.พ.มหาราชนครราชสีมา 24 ชม.
33/80 ปากช่อง
39/80 ร่วมด้วยช่วยกัน นครราชสีมา
41/80 ศรีสาทร 51/80 เรียกขาน
53/80 กังสดาล ปากช่อง
63/80 รามาสูร

จังหวัดนครสวรรค์

59/80 กลุ่มวรรณคดีไทย
75/80 ชมรมCB ปากน้ำโพ จังหวัดนนทบุรี
28/80 ศูนย์แจ้งวัฒนะ
42/80 เอราวัณ

จังหวัดบุรีรัมย์

32/80 ศูนย์ จส. และรส.
41/80 พยัฆค์ หน่วยกู้ภัย

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

47/80 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
17/80 อ.บางสะพาน

จังหวัดปทุมธานี

57/80 นวนคร
59/80 สตอรรี่ปทุมธานี
62/80 เพื่อนฮันษา
65/80 นวนคร 7
3/80 มูลนิธิร่วมกตัญญู จ.ปทุมธานี
80/80 มูลนิธิ ป่อ เต็ก ตึ๊ง จุดโยธิน จ.ปทุมธานี
29/80 ศูนย์พญาอินทรีย์
31/80 เรียกขาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
13/80 ศูนย์บางปะอิน
35/80 สมาคมอยุธยารวมใจ กู้ภัยอยุธยา
37/80 ชมรมกู้ชีพอยุธยา
51/80 ศูนย์กู้ภัยพุทไธสวรรย์
53/80 ศูนย์กังสดาล อยุธยา
54/80 ซีบีอโยธยา

01/80 จังหวัดพังงา
36/80 โลมา (โคกกลอย)

จังหวัดพิษณุโลก

08/80 ศูนย์กู้ชีพอาวี (โรงพยาบาลรัตนเวช)
23/80 ศูนย์กู้ชีพอินเตอร์ (โรงพยาบาลอินเตอร์เวชการ)
27/80 ศูนย์กู้ชีพเวชรักษ์ (โรงพยาบาลพิษณุเวช)
29/80 ศูนย์อปพร.ตำบลปากโทก (อบต.ปากโทก)
37/80 ศูนย์ร่วมด้วยช่วยกันป้องกันภัย (สุโขทัย-พิษณุโลก ร่วมกับสมาคมป้องกันภัยจังหวัดพิษณุโลก)
38/80T07 ศูนย์ผ่านศึก (ทหารผ่านศึก)
40/80 ศูนย์กู้ภัยบูรพา (สมาคมพิษณุโลกการกุศลสงเคราะห์) โรงเจไซทีฮุกตึ๊ง เขาสมอแคลง อำเภอวังทอง
53/80 กังสดาล พิษณุโลก
57/80 ศูนย์วิทยุ ซีบี 57 ร่วมใจ
62/80 ศูนย์กู้ภัยพิษณุโลก (มูลนิธิประสาทบุญญสถาน)
66/80 ศูนย์กู้ภัยข่าวภาพ (สมาคมกู้ภัยข่าวภาพ)
74/80 ศูนย์ตลาดวัดโบสถ์ (ชมรมวิทยุซีบี 74 ร่วมใจ)
77/80 ศูนย์เหยี่ยวเวหา (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
80/80 ศูนย์พญาเสือ (โรงเรียนผดุงราษฎร)

จังหวัดเพชรบุรี

19/80 ช่องบ้าน
23/80 ศูนย์ อปพร.เพชรบุรี ฐานนารายณ์เพชร
33/80 เพื่อนเพชรบุรี
35/80T07 เหยี่ยวเวหาเพชรบุรี
40/80 ศูนย์ตะวัน
55/80 EMS รพ.เพชรรัตน์
65/80 กลุ่มท่ายาง

จังหวัดแพร่

32/80 กู้ภัยแพร่

51/80 ศูนย์นาคราช จังหวัดภูเก็ต
01/80 ช่องกระทู้ ( ช่องช็อต )
09/80 โรงพยาบาลศิริโรจน์
25/80 ชมรมวิทยุชีบีจังหวัดภูเก็ต
39/80 กู้ภัยนาคา
52/80 Animal Planet ภูเก็ตสัมพันธ์
73/80 ศูนย์รัชฎา ( ภูเก็ตเรดิโอ )
76/80 ศูนย์ไข่มุก
77/80T07 เหยี่ยวเวหาภูเก็ต

จังหวัดยะลา

73/80 ศูนย์มิ่งเมืองยะลา

จังหวัดราชบุรี

04/80 มูลนิธิสาธารณะกุศลสถาน กู้ภัยสว่างราชบุรี
53/80 กังสดาล ราชบุรี

จังหวัดระยอง

23/80 ศูนย์กู้ภัยปลวกแดง
35/80 ช่องคุยเล่นถามทาง
53/80 กังสดาล ระยอง
59/80 รส.รย แจ้งเหตุแจ้งข่าว

จังหวัดร้อยเอ็ด

40/80 ศูนย์พิทักษ์ชีพ อ.เสลภูมิ
41/80 ชมรมCB เมืองเกษ (อ.เกษตรวิสัย)
57/80 ศูนย์กู้ชีพ ฟาร่า (อ.เกษตรวิสัย)
59/80 ชมรมCB ร้อยเอ็ด (อ.เมือง)

จังหวัดลพบุรี

46/80 ศูนย์ชลสิทธิ์
50/80 อปพร.อำเภอโคกเจริญ

จังหวัดลำปาง

05/80 ชมรมถ่านหิน

จ.ลำปาง

07/80 กลุ่มอิสระนครลำปาง
11/80 สมาคมอาสาสมัครกู้ภัยลำปาง
12/80 ศูนย์ไตรรงค์
16/80 กลุ่มเทพารักษ์
17/80 ศูนย์กาดกองต้า (ศูนย์อำนวยความสะดวกตลาดนัด)
39/80 กลุ่มพันธมิตร ลำปาง
63/80 ศูนย์ไตรรงค์
65/80 ชมรมCB เขลางค์
67/80 ศูนย์กู้ภัยเบญจรงค์

จังหวัดศรีสะเกษ

36/80 ชมรมCB ศนีสะเกษ
40/80 ศูนย์พิทักษ์ชีพ (อ.เสลภูมิ)
41/80 กลุ่มนักวิทยุซีบี 245 เมืองเกษ (อ.เกษตรวิสัย)
57/80 ศูนย์กู้ชีพ ฟาร่า (อ.เกษตรวิสัย)
59/80 ชมรมนักวิทยุซีบี 245 ร้อยเอ็ด (อ.เมือง)

จังหวัดสงขลา

34/80 Matrix Media
45/80 แหลมสน
49/80 แหลมสน
55/80 โลมา

จังหวัดสมุทรปราการ

40/80 ศูนย์วิทยุหน่วยกู้ชีพ"เพชรสมุทร"
68/80 CBสมุทรปราการ

จังหวัดสระแก้ว

50/80 อ.อรัญญประเทศ

จังหวัดสระบุรี

71/80 มิตรภาพสัมพันธ์ (ศูนย์ตะวัน)

จังหวัดสิงห์บุรี

33/80 อาสาฯร่วมกตัญญูสิงห์บุรี

จังหวัดสุโขทัย

38/80 กู้ภัยร่วมมิตรสุโขทัย
49/80 กลุ่มเสือทหาร

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

35/80 เหยี่ยวเวหา สุราษฎร์ธานี
59/80 กลุ่ม CB ศรีสุราษฯ
61/80 กลุ่ม CB ตาปี

จังหวัดสุรินทร์

45/80 ชมรมข่าวCB บัวเชด (สังขะ - ขุขันธ์)

จังหวัดอ่างทอง

34/80 กู้ภัยอ่างทอง

จังหวัดอุตรดิตถ์

59/80 กู้ภัยอุตรดิตถ์ 7
5/80 กู้ภัยวัดหมอนไม้

จังหวัดอุบลราชธานี

07/80 ศูนย์ อปพร. อุบลฯ
09/80 ศูนย์จี้กง (ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ)
20/80 ชมรมCB อุบลราชธานี
35/80 กลุ่ม อ.เดชอุดม
39/80 จีตัมเกาะอุบล (ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ)
51/80 ชมรมCB อุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ

ความเป็นมาของกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย

ความเป็นมาของกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
กิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ได้เริ่มด้วยกลุ่มผู้สนใจในกิจการ วิทยุสมัครเล่น รวมตัวก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่น แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2507 และได้พยายามขออนุญาต มีและใช้เครื่องวิทยุ โทรคมนาคม สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น ให้ถูกต้อง ตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้ รับอนุญาตเนื่องจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับความมั่นคงของชาต ิยังไม่มั่นใจว่า กิจการวิทยุสมัครเล่นจะได้ประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ และการ ควบคุมจะทำได้เพียงใด เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการวิทยุสมัครเล่นอีกทางหนึ่ง กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้มีโครงการ ทดลองให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นในรูปของ นักวิทยุอาสาสมัคร หรือ VR ขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2524 กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เปิดข่าย วิทยุอาสาสมัครขึ้นโดยจัดตั้งเป็น ชมรมนักวิทยุอาสาสมัคร มีผู้อำนวยการกองต่าง ๆ สังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็น คณะกรรมการชมรมฯ และอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็น ประธานชมรมฯ ผู้ที่จะเป็นสมาชิกจะต้องได้รับประกาศนียบัตร พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น และต้องผ่านการสอบประวัติจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และจากกรมตำรวจ ว่าไม่เป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของ ประเทศชาติ เมื่อมีคุณสมบัติ ครบถ้วนแล้ว กรมไปรษณีย์โทรเลขจะออกใบอนุญาต มีและใช้ เครื่องวิทยุโทร- คมนาคมและอนุญาตให้เป็น นักวิทยุอาสาสมัครหรือ VR โดยการกำหนดสัญญาณ เรียกขาน (CALL SIGN) ให้ สัญญาณเรียกขานที่กำหนดขึ้น จะขึ้นต้นด้วย VR และตามด้วยตัวเลขจาก VR001 ไปตามลำดับก่อนหลัง เพื่อให้การกำกับดูแล การใช้วิทยุคมนาคม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้จัดตั้ง ศูนย์ควบคุมข่ายมีสัญญาณเรียกขานว่า "ศูนย์สายลม" ขึ้นที่บริเวณ ภายในกรมไปรษณีย์โทรเลขและ อนุญาตให้ใช้ ความถี่ได้เพียง 3 ช่องคือ 144.500 - 144.600 และ 144.700 MHz ในการเปิดสอบรุ่นแรกมีผู้สอบได้รับประกาศนียบัตร พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น จำนวน 312 คน การใช้ช่องความถี่ในการติดต่อสื่อสาร เริ่มหนาแน่นขึ้นเมื่อ จำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2525 กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เพิ่มความถี่ให้อีกหนึ่งช่องคือ 145.000 MHz เป็นช่องสำหรับแจ้งเหตุ โดยศูนย์สายลมทำหน้าที่ ประสานงานให้ระหว่างนักวิทยุสมัครเล่น และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ โดยนักวิทยุสมัครเล่นทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับทางราชการ ในกรณีที่นักวิทยุสมัครเล่นพบเห็นผู้กระทำ ความผิด ก็จะแจ้งให้ศูนย์สายลมทราบ เมื่อศูนย์สายลมรับข่าวแล้ว จะทำหน้าที่ กลั่นกรองเรียบเรียงข่าวนั้น ให้เป็นไปตามหลักการ ของการส่งข่าวที่ถูกต้อง ก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อ ดำเนินการตามหน้าที่ต่อไป ในทางกลับกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องการให้นักวิทยุสมัครเล่น ช่วยสังเกตผู้กระทำผิดกฎหมาย เช่น คดีรถหายหรือคดีชนแล้วหนี ตำรวจแจ้งให้ศูนย์สายลมทราบ เพื่อกระจายข่าว ให้นักวิทยุสมัครเล่นได้ช่วยสังเกต และติดตามเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโครงการ สายตรวจ ร่วมระหว่างนักวิทยุสมัครเล่น กับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยให้ นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ใช้เครื่องวิทยุ และความถี่วิทยุในย่านของ กิจการวิทยุสมัครเล่น ในการติดต่อประสานงาน และใช้ยานพาหนะของ นักวิทยุสมัครเล่น ออกตรวจตามถนนสายต่าง ๆ ในตอนกลางคืนโดยมีเป้าหมาย เพื่อที่จะให้หน่วยงานที่มี หน้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง เห็นประโยชน์ ของกิจการ วิทยุสมัครเล่น ในปีพ.ศ. 2526 ได้มีการจัดตั้งสมาคม นักวิทยุอาสาสมัครขึ้น เพื่อให้เป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย จากผลงานที่นักวิทยุสมัครเล่น ในรูปของนักวิทยุอาสาสมัคร ได้รับการยอมรับว่า กิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นกิจการที่มีประโยชน์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 กรมไปรษณีย์โทรเลขจึง ได้อนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่น ในประเทศไทยได้ โดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการ ประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุ แห่งชาติ (กบถ.) ซึ่งออกเป็นระเบียบของคณะกรรมการ ประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุ แห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 ผลของระเบียบนี้ทำให้ต้อง มีการกำหนดสัญญาณเรียกขานให้เป็น ตามสากล เช่น VR001 เป็น HS1BA และ VR คนสุดท้ายคือ VR2953 ดังนั้นนักวิทยุสมัครเล่นทุกคนจะต้องมี สัญญาณ เรียกขานสากล ที่ขึ้นต้นด้วย HS ซึ่งหมายถึงประเทศไทย ตามด้วยเลข 1 ถึง 0 โดยตัวเลขในสัญญาณเรียกขานนั้น จะแสดงให้ทราบว่านักวิทยุสมัครเล่น คนนั้นอยู่ในเขตใด เช่น HS1 และ HS0 หมายถึงนักวิทยุสมัครเล่นภาคกลาง HS9 หมายถึงนักวิทยุสมัครเล่น ที่อยู่ภาคใต้ เป็นต้น และตามด้วยอักษร 2 ตัว และ 3 ตัวตามลำดับ ปัจจุบันมีผู้สอบได้รับ ประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น แล้ว จำนวนมากกว่า 160,000 คน และผู้ได้รับอนุญาต มี CALL SIGN แล้วจำนวนมากกว่า 92,000 คน จำนวนช่องความถี่ที่ได้รับอนุญาต ให้เพิ่มขึ้น เต็มย่านVHF จำนวน 81 ช่อง และเพื่อความรอบคอบในกรณีที่ สัญญาณเรียกขาน ที่ขึ้นต้นด้วย HS จัดให้หมดแล้ว กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ขอให้ สหภาพโทร-คมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) กำหนดอักษรสำหรับ CALL SIGN ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นใหม่ ITU ได้กำหนดให้ใช้ E2 ซึ่งจะใช้แทน HS ต่อไป กิจการวิทยุสมัครเล่นไทยได้สร้างเกียรติประวัติ ในการช่วยเหลือทางราชการ ในการแจ้งข่าว เมื่อเกิดพายุเกย์พัดเข้าบริเวณจังหวัดชุมพร และจังหวัดใกล้ เคียงปลายปี พ.ศ. 2532 ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เสาไฟฟ้าแรงสูง และสายอากาศวิทยุ ถูกพายุพัดล้ม เสียหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งระบบสื่อสารของ ทางราชการถูกตัดขาด ไม่สามารถติดต่อกันได้ รัฐบาล ได้ขอความร่วมมือ นักวิทยุสมัครเล่น ให้ช่วยติดต่อรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้น ให้รัฐบาลได้ทราบ เพื่อให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบเคราะห์กรรม เหล่านั้น นักวิทยุสมัครเล่น ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้รัฐบาลสามารถทราบถึงความ เดือดร้อนและ ความเสียหายของ ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ รัฐบาลได้เห็น ประโยชน์ ของนักวิทยุเป็นอย่างดียิ่ง และยอมรับว่ากิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นกิจ-การที่มีความสำคัญ ควรได้รับการสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

การสมัครและการเตรียมตัวสอบ

การสมัครและการเตรียมตัวสอบ การสอบเป็นนักวิทยุสมัครเล่น 1. คุณสมบัติ ผู้ที่จะสอบเป็นนักวิทยุสมัครเล่นได้ ต้องมีสัญชาติไทย มีอายุไม่ตำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ในวันสมัครต้องไม่เคยสอบผ่านมาก่อนและไม่เป็นพระภิกษุสามเณร2. การซื้อใบสมัครและคู่มือการสอบ การเข้าสอบ 2.1 ซื้อใบสมัครสอบได้ที่ 2.1.1 กรมไปรษณีย์โทรเลข ซอยพหลโยธิน8 (ซอยสายลม) โทร.271-0151-60 ติดต่อแผนกฝ่ายใบอนุญาต 2.1.2 ร้านจำหน่ายวิทยุสื่อสารทั่วไปที่อยู่ใกล้บ้าน 2.1.3 ซื้อใบสมัครและสมัครสอบที่ศูนย์/สถานีตรวจสอบเฝ้าฟังวิทยุของ กรมไปรษณีย์โทรเลขส่วนภูมิภาค 2.1.4 สั่งซื้อทางไปรษณีย์ โดยเขียนชื่อ นามสกุล และที่อยู่ ในลักษณะจ่าหน้าซองถึง ตัวท่านเองอย่างชัดเจน ลงในแผ่นกระดาษ 5 X 10 เซนติเมตร เพื่อใช้ปิดหน้าซองที่จะส่งคู่มือ แนะนำการสอบไปยังผู้ซื้อ ส่งพร้อมธนาณัติ (ไม่รับเงินสด ตั๋วแลกเงินหรือเช็คธนาคาร) สั่งจ่าย ปท.สามเสนใน ในนามผู้อำนวยการสวัสดิการกรมไปรษณีย์โทรเลข มายัง ตู้ ปณ.248 สามเสนใน กทม. 10400 และวงเล็บด้านล่างว่า "สั่งซื้อคู่มือ" สามารถสั่งซื้อหนังสือข้อสอบกลางของกรมไปรษณีย์ โทรเลขได้พร้อมกัน ค่าใบสมัครสอบและคู่มือสอบ 70 บาท ค่าหนังสือข้อสอบกลาง 120 บาท3. หลักฐานการสมัคร ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน , รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป , ( ค่าใบสมัครสอบ 70 บาท , ค่าสมัครสอบ 200 บาท , หนังสือข้อสอบ -กลาง 120 บาท รวม 390 บาท ) ซื้อได้ที่กองใบอนุญาต ชั้น 2 กรมไปรษณีย์โทรเลข4. ท่านจะสามารถสมัครสอบที่ใดก็ได้ตามที่สะดวก (ตามตารางกำหนดสอบที่แนบมากับใบสมัคร) แต่นามเรียกขานจะยึดถือตามทะเบียนบ้านเป็นหลัก หรือสมัครสอบทางไปรษณีย์ แต่เวลาสอบต้องไปสอบ ณ สถานที่ตามตารางที่กรมฯ จัดสอบให้เท่านั้นไม่มีการสอบผ่านทางไปรษณีย์5. เมื่อถึงกำหนดวันสอบต้องไปตามสถานที่ที่กรมไปรษณีย์ กำหนดไว้ เนื้อหาที่สอบ หลักสูตรการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น วิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไป กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น 1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น องค์กรระหว่างประเทศ และข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 1.2 ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 กฎกระทรวงคมนาคมและประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลขที่เกี่ยวข้อง 1.3 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 1.4 ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดสัญญาณเรียกขานสำหรับประเทศไทย และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง วิชาที่ 2 การติดต่อสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่น 2.1 ประมวลรหัส Q 2.2 การรายงานสัญญาณระบบ RST 2.3 การอ่านออกเสียงตัวอักษร 2.4 คำเฉพาะและคำย่อต่าง ๆที่ควรรู้ 2.5 การปฏิบัติและมารยาทในการเรียกขาน และการติดต่อสื่อสาร 2.6 การรับและแจ้งเหตุฉุกเฉิน 2.7 สมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร วิชาที่ 3 ทฤษฎีต่าง ๆ สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น 3.1 ทฤษฎีไฟฟ้า - คำนำหน้าหน่วย - ตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า - แหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบต่าง ๆ - คุณสมบัติของแบตเตอรี่แบบต่าง ๆ - แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ตัวต้านทาน กำลังไฟฟ้า และกฎของโอห์ม - การต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม และแบบขนาน - ไฟฟ้ากระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ - ตัวเก็บประจุไฟฟ้า ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า และการต่อแบบอนุกรม และแบบขนาน - คาปาซิตีฟรีแอกแตนซ์ อิมพีแดนซ์ และรีโซแนนซ์ - หม้อแปลงไฟฟ้า - สัญลักษณ์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรรู้ - เดซิเบล 3.2 ทฤษฎีอิเล็กทรอนิกส์ - หน้าที่โดยสังเขปและสัญลักษณ์ของอุปกรณ์บางอย่าง ได้แก่ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ ผลึกแร่ ไมโครโฟน ลำโพง หลอดวิทยุ และไอซี 3.3 หลักการทำงานของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ - หน้าที่ของภาคต่าง ๆ ในเครื่องรับ/ส่งวิทยุแบบ TRF และแบบซุปเปอร์เฮเทอโรดายน์ - AM และ FM - คุณสมบัติของเครื่องรับ/ส่งวิทยุ - ซิมเพล็กซ์ ฟูลดูเพล็กซ์ และเซมิดูเพล็กซ์ 3.4 สายอากาศและสายนำสัญญาณ - คุณสมบัติของคลื่นวิทยุ - ความถี่และความยาวคลื่น - โพลาไรเซชั่น - คุณสมบัติของสายอากาศ - สายอากาศพื้นฐานที่ควรรู้ - สายนำสัญญาณแบบต่าง ๆ และคุณสมบัติที่ควรรู้ - SWR และการแมทช์ - บาลัน 3.5 การแพร่กระจายคลื่น - การแบ่งย่านความถี่ - ลักษณะการแพร่กระจายคลื่นของย่านความถี่ต่าง ๆ - องค์ประกอบที่มีผลต่อระยะการรับ/ส่งในย่าน VHF วิชาที่ 4 หลักปฏิบัติของนักวิทยุสมัครเล่น 4.1 ข้อพึงระวังเรื่องความปลอดภัย 4.2 การใช้เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ 4.3 สาเหตุและการลดปัญหาการรบกวน หมายเหตุ วิธีการสอบ ทดสอบความรู้ความเข้าใจในวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตรการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นของกรมไปรษณีย์โทรเลข ด้วยวิธีการสอบข้อเขียนโดยข้อสอบจะเป็นปรนัยจำนวน 100 ข้อ ที่นำมาจากหนังสือข้อสอบกลางพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ซึ่งจัดพิมพ์โดยสวัสดิการกรมไปรษณีย์โทรเลข เกณฑ์การตัดสิน เกณฑ์การตัดสินในการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นนั้นได้กำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ต้องเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนตามหลักสูตรการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นของกรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ

การอ่านออกเสียงตัวอักษร

การอ่านออกเสียงตัวอักษร( International Telecommunication Union Phonetic Alphabets) ในข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ และองค์การบินพลเรือนระห่วางประเทศ(ICAO) ได้กำหนดวิธีการอ่านออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ ไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อใช้ในการออกเสียงสัญญาณเรียกขาน คำย่อ และคำต่าง ๆ เพื่อป้องกันความสับสนในการออกเสียงตัวอักษร หรือ มีปัญหา ด้านภาษาระหว่างกัน เป็นต้น พยัญชนะการอ่านออกเสียงA= Alfa AL FAH อัลฟ่าB= Bravo BRAH VOH บราโว่C= Charlie CHAR LEE OR SHAR LEE ชาลีD= Delta DELL THA เดลต้าE= Echo ECH OH เอ็คโค่F= Foxtrot FOKS TROT ฟอกซ์ทรอตG= Golf GOLF กอล์ฟH= Hotel HOH TEL โฮเทลI= India IN DEE AH อินเดียJ= Juliett JEW LEE ETT จูเลียตK= Kilo KEY LOH คีโลL= Lima LEE MAH ลีม่าM= Mike MIKE ไม้ค์N= November NO VEM BER โนเวมเบอร์O= Oscar OSS CAH ออสก้าP= Papa PAH PAH ปาป้าQ= Quebec KEH BECK คีเบคR= Romeo ROW ME OH โรมิโอS= Sierra SEE AIR RAH เซียร์ร่าT=Tango TANG GO แทงโก้U= Uniform YOU NEE FORM OR OO NEE FORM ยูนิฟอร์มV= Victor VIK TAH วิคต้าW= Whiskey WISS KEY วิสกี้X =X-ray ECKS RAY เอ็กซเรย์Y= Yankee YANG KEY แยงกี้Z= Zulu ZOO LOO ซูลู

ประมวลรหัส Q (Q Code)

ประมวลรหัส Q (Q Code)
Q Code คือคำย่อซึ่งประเทศภาคีสมาชิก ในภาคีโทรเลขระหว่างประเทศกำหนดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเรื่องภาษา ในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุโทรเลข (ได้แก่ การส่งในระบบ CW-Continuous Wave) ระหว่างสถานีเรือกับสถานีตามชายฝั่ง ระหว่างสถานีเรือด้วยกัน และในกิจการด้านการบิน วัตถุประสงค์ในการใช้ประมวลรหัส Q มีดังนี้ 1.เพื่อลดเวลาในการรับ และส่งข้อความสำหรับวิทยุโทรเลข กล่าวคือ แทนที่จะต้องส่งข้อความยาว ๆ ซึ้งใช้เวลาในการรับ และส่ง จะใช้รหัสสั้น ๆ แทน เช่น แทนที่จะเคาะรหัสมอร์สว่า " สถานีใดเรียกข้าพเจ้าอยู่ ?" จะเคาะรหัสมอร์สเพียงว่า "QRZ?" เป็นต้น 2.เพื่อลดปัญหาด้านภาษาที่ใช้ติดต่อกันทำให้นักวิทยุ ที่ไม่สันทัดภาษาอังกฤษ สามารถแจ้งข่าวสารแก่กันได้ง่ายขึ้น สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่นใช้รหัส Q สำหรับการติดต่อในระบบ CW ซึ่งเป็นระบบวิทยุโทรเลข ส่วนในระบบวิทยุโทรศัพท์นั้นไม่จำเป็นต้องใช้รหัส Q เพราะเสียงพูดสามารถส่ง และรับได้เร็วกว่าการใช้ รหัสมอร์ส และมีเวลาเพียงพอที่จะอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ได้ตามต้องการ และเข้าใจได้ชัดเจนด้วย อย่างไรก็ตาม มีรหัส Q บางคำที่นิยมใช้จนติดปาก และเป็นที่ยอมรับ จนนิยมนำมาใช้ในระบบวิทยุโทรศัพท์ด้วย รหัส Q แต่ละคำประกอบด้วยพยัญชนะ 3 ตัว ตัวแรกขึ้นต้นด้วย Q เสมอมีตั้งแต่ QAA-QUZ และแต่ล่ะคำมีความหมายเป็นได้ตั้งคำถาม และคำตอบ ประมวลรหัส Q (Q Code) ที่นิยมใช้ (เรียงลำดับตามอักษรภาษาอังกฤษ) Q Code คำถาม คำตอบ หมายเหตุQRA สถานีของท่านชื่ออะไร ? QRB ท่านอยู่ห่างจากสถานีของข้าพเจ้าเท่าใด ?QRD ท่านจะไปที่ไหน และมาจากไหน ? QRE ท่านจะมาถึงเวลาใด ? QRG ท่านจะบอกความถี่แท้จริงของข้าพเจ้าได้ไหม ? QRH ความถี่ของข้าเจ้าเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ?QRK ท่านรับฟังข้อความของข้าพเจ้าได้ชัดเจนเพียงใด ? ข้าพเจ้ารับฟังข้อความของท่านได้...... 1. ไม่ได้เลย 2. ไม่ค่อยดี 3. พอใช้ 4. ดี 5. ดีเยี่ยม QRL ท่านกำลังมีธุระหรือ ? QRM ท่านกำลังถูกรบกวนหรือ ? ข้าพเจ้ากำลังถูกรบกวนในระดับ..... 1. ไม่ถูกรบกวน 2. เล็กน้อย 3. ปานกลาง 4. ค่อนข้างรุนแรง 5. รุนแรง QRN ท่านถูกรบกวนจาก ประจุไฟฟ้าในบรรยากาศหรือ ? ข้าพเจ้าถูกรบกวนโดยประจุไฟฟ้า ในบรรยากาศระดับ.... การรบกวนโดย ประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ1. ไม่ถูกรบกวน 2. เล็กน้อย 3. ปานกลาง 4. ค่อนข้างรุนแรง 5. รุนแรง QRO ขาพเจ้าจะเพิ่มกำลังส่งได้หรือไม่ ? เพิ่มกำลังส่งขึ้นอีก กำลังส่งสูงQRP ข้าพเจ้าจะลดกำลังส่งได้หรือไม่ ? QRQ ข้าพเจ้าจะส่งเร็วขึ้นได้หรือไม่ ? QRS ข้าพเจ้าจะส่งให้ช้าลงได้หรือไม่ ? QRT ข้าพเจ้าจะหยุดส่งได้หรือไม่ ? QRU ท่านมี ( ข้อความ) อะไรสำหรับข้าพเจ้าหรือไม่ ?QRV ท่านพร้อมหรือยัง ? QRW จะให้ข้าพเจ้าแจ้งเขาไหมว่าท่าน กำลังเรียกอยู่ที่ความถี่.....KHz(MHz) โปรดแจ้งเขาว่า ข้าพเจ้ากำลังเรียกเขาที่ความถี่.....KHz(MHz) QRX เมื่อใดท่านจะเรียกข้าพเจ้าอีก ? QRZ ใครกำลังเรียกข้าพเจ้า ? QSA ความแรงสัญญาณของข้าพเจ้าเป็นอย่างไร ? ความแรงสัญญาณ ของท่านอยู่ในระดับ..... 1. อ่อนมาก จนรับสัญญาณแทบจะไม่ได้เลย 2. อ่อน 3. แรงพอใช้ได้ 4. ดี 5. ดีมาก QSB สัญญาณของข้าพเจ้าจางหายหรือไม่ ? สัญญาณของท่านจางหาย QSL ท่ารับข้อความได้หรือ ไม่ ? QSM จะให้ข้าพเจ้าทวนข้อความสุดท้าย ซ้ำอีกหรือไม่ ? โปรดทวนข้อความสุดท้าย ซ้ำอีกครั้ง QSN ท่านได้ยินข้าพเจ้า ที่ความถี่.....KHz(MHz) หรือไม่ ? QSO ท่านสามารถติดต่อกับ...... ได้โดยตรง หรือไม่ QSP ท่านจะถ่ายทอดข้อความถึง.....ได้หรือไม่ ? ข้าพเจ้าจะถ่ายทอดข้อความไปถึง.....ได้ QSX ท่านจะรับฟัง.... ที่ความถี่..... KHz(MHz) ได้หรือไม่ ? ข้าพเจ้ากำลังรับฟัง....ที่ความถี่....KHz(MHz) QSY ข้าพเจ้าจะเปลี่ยนไปส่งด้วยความถี่อื่น ได้หรือไม่ ? ให้เปลี่ยนไปส่งด้วยความถี่อื่น QTH ตำแหน่งสถานีของท่านอยู่ที่ใด ? ตำแหน่งของสถานีของข้าพเจ้าอยู่ที่..... QTR ขณะนี้เวลาเท่าใด ? ขณะนี้เวลา.....

โค้ด ว. ที่นักวิทยุซีบีและอาสาสมัครนิยมใช้

โค้ด ว ที่นักวิทยุซีบีและอาสาสมัครนิยมใช้

ว.0 ขอทราบคำสั่ง คำสั่ง ว.00 รอก่อน ให้คอยก่อน ว.01 ที่ทำงาน ที่โรงเรียน ว.02 ที่บ้าน ว.1 จุดที่กำลังออกอากาศ ว.2 ได้ยินหรือไม่/ได้ยินแล้ว ว.3 ทวนข้อความ ว.4 ปฏิบัติหน้าที่ ดำเนินการ ว.5 ราชการลับ ว.6 ขอติดต่อ ว.7 ขอความช่วยเหลือ ว.8 ข่าว, ข่าวสาร ข้อความ ว.9 เหตุฉุกเฉิน ว.10 อยู่ประจำที่ ติดต่อทาง ว.ได้ ว.11 หยุดพัก ติดต่อทาง ว. ได้ ว.12 หยุดพัก ติดต่อทาง ว.ไม่ได้ ว.13 ติดต่อทางโทรศัพท์ ว.14 เลิกงาน ปิดสถานี ว.15 พบ ว.16 ทดสอบสัญญาณวิทยุ ว.16-1 จับใจความไม่ได้ ว.16-2 ไม่ชัดเจน แต่พอฟังได้ ว.16-3 ชัดเจนพอใช้ ว.16-4 ชัดเจนดี ว.16-5 ชัดเจนดีมาก ว.17 มีอันตราย ว.18 รถเสีย ว.19 ถูกโจมตี สถานีถูกปิด ว.20 จับกุม ว.21 ออกเดินทางจาก...(สถานที่) ว.22 ถึง...(สถานที่)ว.23 ผ่าน...(สถานที่) ว.24 เวลา ว.25 ไปยัง...(สถานที่ ว.26 ให้ติดต่อทางวิทยุให้น้อยที่สุด ว.27 ติดต่อทางโทรพิมพ์ ว.28 ประชุม ว.29 ธุระ ว.30 จำนวน คน สิ่งของ ว.31 เปลี่ยนไปใช้ช่องความถี่ 1 ว.32 เปลี่ยนไปใช้ช่องความถี่ 2 ว.33 เปลี่ยนไปใช้ช่องความถี่ 3 ว.34 เปลี่ยนไปใช้ช่องความถี่ 4 ว.35 ให้เตรียมพร้อมเพื่อปฏิบัติการ ว.36 ให้เตรียมพร้อมเต็มอัตรา ว.37 ให้เตรียมพร้อมครึ่งอัตรา ว.38 ให้เตรียมพร้อม 1 ใน 3 ว.39 การจราจรติดขัด ว.40 อุบัติเหตุจากรถ ว.41 สัญญาณไฟจราจรเสีย ว.42 การเดินทางเป็นขบวน ว.43 จุดตรวจสอบยานพาหนะ ว.44 โทรสาร ว.45 เหตุการปกติ ว.50 รับประทานอาหาร ว.51 ป่วย ว.52 ยกเลิก ว.53 อยู่ร้านอาหาร ว.54 อยู่โรงแรม ว.55 ผกก. มาตรวจ ว.56 เพื่อนมา ว.57 กำลังโดยสารทางเรือว.59 เปลี่ยนทิศทาง ว.60 ญาติ เพื่อน ว.61 ขอบคุณ สวัสดี ว.62 สิ่งของ ว.63 บ้านพัก ว.64 ธุระส่วนตัว ว.65 ภรรยามาพบ ว.66 ขอพบเรื่องราชการ ว.67 ขอพบเรื่องส่วนตัว ว.68 แจ้งความ ว.69 ระมัดระวัง ว.70 ถึงแก่กรรม ว.71 พักผ่อน ว.73 ด้วยความปรารถนาดี ว.78 คลื่นอื่นมาแทรก ว.81 ติดธุระ ว.88 รักและจุมพิต ว.99 อย่างยุ่งเกี่ยว ว.100 ขอโทษ ว.600 แฟน ว.601 เครื่องวิทยุรับ-ส่ง ว.602 สายอากาศวิทยุรับ-ส่ง ว.603 รถยนต์ ว.604 โทรทัศน์ บันเทิง ว.605 รับประทานอาหาร ว.606 ไม่ถูกต้อง (โกหก) ว.607 ทำธุระส่วนตัว(เข้าห้องน้ำ) ว.608 ถูกรบกวน (บุคคล) ว.609 ถูกรบกวน (อากาศ) ว.2ว.8 เข้าใจแล้ว, รับทราบ


รหัสที่ใช้ในการแจ้งเหตุ
เหตุ 100 มีเหตุประทุษร้ายต่อทรัพย์สินเหตุ 111 ลักทรัพย์เหตุ 121 วิ่งราวทรัพย์เหตุ 131 ชิงทรัพย์เหตุ 141 ปล้นทรัพย์เหตุ 200 มีเหตุประทุษร้ายต่อร่างกายเหตุ 201 เพลิงไหม้หญ้าเหต ุ202 ไฟฟ้าลัดวงจรเหต ุ203 เพลิงไหม้ยานพาหนะเหตุ 204 เพลิงไหม้(บ้าน ชุมชน อาคาร........)เหตุ 205 เพลิงไหม้อาคารเก็บเชื้อเพลิงสารเคมีเหตุ 206 เพลิงไหม้อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่เหตุ 211 ทำร้ายร่างกายไม่ได้รับบาดเจ็บเหตุ 221 ทำร้ายร่ายกาย ได้รับบาดเจ็บเหต ุ231 ทำร้ายร่ายกาย ได้รับบาดเจ็บสาหัสเหตุ 241 ฆ่าคนตายเหตุ 300 การพนันเหตุ 501 วัตถุต้องสงวัยเกี่ยวกับระเบิดเหตุ 511 ได้เกิดระเบืดขึ้นแล้วเหตุ 512 วัตถุระเบิดตรวจสอบแล้วไม่ระเบิดเหตุ 600 นักเรียนจะก่อเหตุทะเลาะวิวาทเหตุ 601 นักเรียนรวมกลุ่มมีสิ่งบอกเหตุเชื่อว่าจะก่อเหตุเหต ุ602 นักเรียนก่อเหตุหลบหนีไปแล้วเหตุ 603 นักเรียนยกพวกก่อเหตุทำร้ายกันและกันเหตุ 604 นักเรียนยกพวกก่อเหตุทำร้ายกันถึงความตายเหตุ 605 นักเรียนยกพวกก่อเหตุทำร้ายกันมีวัตถุระเบิด

ข่าวสาร

วันที่ 2 ตุลาคม 2552
วันนี้ได้ตื่นนอนตามเวลาปรกติ แต่เป็นที่แปลกใจผ่านไฟแดงไหนเขียวหมด จนมีเหตุ ว.40 รถเก๋งฮอนด้าJazzกับจยย.ที่ถนนพระราม3-77 ซอยอมร มีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยถึงปานกลาง เป็นชายหนึ่ง หญิงหนึ่ง อาสาสมัครได้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น หลังจากนั้นรถปอเต็กตึ้งได้นำส่ง ร.พ เลิศศิลป์.
















Reported by Rama9: 20-38, 20-42

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สัญญาณเรียกขาน

1. สัญญาณเรียกขาน "HS 1 XXX" ,HS 0 XXX" ,E2 1 XXX และ E2 0 XXX มี 10 จังหวัด กรุงเทพมหานคร ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง
2. สัญญาณเรียกขาน "HS 2 XXX" มี 7 จังหวัด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง
3. สัญญาณเรียกขาน "HS 3 XXX" มี 7 จังหวัด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี
4. สัญญาณเรียกขาน "HS 4 XXX" มี 10 จังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร นองคาย อุดรธานี
5. สัญญาณเรียกขาน "HS 5 XXX" มี 9 จังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์
6. สัญญาณเรียกขาน "HS 6 XXX" มี 8 จังหวัด กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุทัยธานี
7. สัญญาณเรียกขาน "HS 7 XXX" มี 8 จังหวัด กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี
8. สัญญาณเรียกขาน "HS 8 XXX" มี 7 จังหวัด กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี
9. สัญญาณเรียกขาน "HS 9 XXX" มี 7 จังหวัด ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล
รหัส XXX นั้น จะเป็น รหัสประจำตัวหรือสถานี เช่น สมมุติ Call Sign HS0DOF แสดงว่า อยู่ในประเทศไทย (HS) และอยู่ในกลุ่มที่ 1 มีรหัสเป็นประจำตัวเป็น DOF

สิทธิต่างๆของนักวิทยุสมัครเล่นประเทศไทย

สิทธิต่างๆ ของนักวิทยุสมัครเล่นประเทศไทย
เมื่อสอบผ่านหรือได้รับประกาศนียบัตรรับรองการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว จะมีสิทธิการใช้งานความถี่ที่กำหนดให้ใช้เฉพาะนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น ซึ่งมีหลายย่านความถี่ตามข้อกำหนดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และใช้กำลังส่งได้สูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดแต่ละลำดับชั้นของใบอนุญาต
วันสำคัญ
วันที่ 18 เมษายน - วันนักวิทยุสมัครเล่นโลก(World Amateur Radio Day)
วันที่ 25เมษายน - International Marconi Day (IMD)

การเป้นนักวิทยุสมัครเล่นและใบอนุญาติ

การเป็นนักวิทยุสมัครเล่นและใบอนุญาต
สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักวิทยุสมัครเล่น จะต้องผ่านการอบรม และ/หรือสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นจาก คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช) ก่อนจึงจะสามารถใช้งานความถี่วิทยุของนักวิทยุสมัครเล่นได้ ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
ซึ่งในแต่ระดับขั้นนั้นมีสิทธิที่จะใช้งานความถี่วิทยุสมัครเล่นและกำลังส่งที่แตกต่างกัน สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงนั้น ยังไม่เคยเปิดสอบสำหรับประชาชนทั่วไป แต่มีการถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น.

วิทยุสมัครเล่นกับอวกาศ

วิทยุสมัครเล่นกับอวกาศ
ที่ผ่านมานักวิทยุสมัครเล่นได้ส่งดาวเทียมสำหรับการติดต่อสื่อสารหรือการทดลองของนักวิทยุสมัครเล่นมากกว่า 70 ดวงแล้ว ในโครงการที่ชื่อว่า Orbiting Satellite Carrying Amateur Radio หรือ OSCAR ซึ่งบางดวงก็สามารถใช้งานด้วยการใช้เครื่องวิทยุรับ-ส่งชนิดมือถือ และสายอากาศชนิดติดกับตัวเครื่อง หรือ "rubber duck" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AO-51 หรือ AMSAT Echo นักวิทยุสมัครเล่นยังสามารถใช้ "ดาวเทียมธรรมชาติ" ได้แก่ ดวงจันทร์ และ ดาวตก สำหรับการสะท้อนคลื่นเพื่อการติดต่อสื่อสาร นักวิทยุสมัครเล่นยังสามารถติดต่อสื่อสารกับสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station หรือ ISS) ซึ่งนักบินอวกาศเกือบทุกคนที่ประจำอยู่จะได้รับใบอนุญาตการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นเช่นกัน [7]โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีโครงการให้นักเรียนได้ติดต่อพูดคุยกับนักบินอวกาศผ่านความถี่วิทยุสมัครเล่น อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นความถี่สำรองสำหรับสถานีอวกาศนานาชาติอีกด้วย.

การติดต่อด้วยกำลังส่งต่ำ (QRP)

การติดต่อด้วยกำลังส่งต่ำ (QRP)
มีนักวิทยุสมัครเล่นบางคนที่ชอบสร้างเครื่องรับ-ส่ง ด้วยตนเอง และนำมาใช้ด้วยกำลังส่งที่ต่ำ เรียกว่า QRP ซึ่งมาจาก Q code ที่มีความหมายว่า "ลดกำลังส่ง" การออกอากาศด้วย QRP ใช้กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ สำหรับรหัสมอร์ส และไม่เกิน 10 วัตต์สำหรับการส่งด้วยเสียง

การตั้งสถานีติดต่อชั่วคราว (Portable)

การตั้งสถานีติดต่อชั่วคราว (Portable)

นักวิทยุสมัครเล่นมักจะนำอุปกรณ์วิทยุสื่อสารของตนเองติดตัวไปด้วยเวลาไปเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง และจะออกอากาศหรือทำการติดต่อจากสถานที่เหล่านั้น (ต้องได้รับอนุญาตสำหรับการออกอากาศในสถานที่นอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต) ด้วยกำลังส่งต่ำ และสายอากาศที่สามารถติดตั้งได้ง่าย ซึ่งก็มีบ่อยครั้งที่ตั้งใจเดินทางไปยังสถานที่ที่ห่างไกลและไม่มีนักวิทยุสมัครเล่นไปออกอากาศ เพื่อเปิดโอกาศให้นักวิทยุสมัครเล่นจากที่ต่าง ๆ ได้ติดต่อเข้ามาเพื่อแลกบัตรยืนยันการติดต่อ แม้กระทั่ง นักวิทยุที่ชอบเดินทางด้วยเรือหรือเครื่องบินก็สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารติดต่อกับนักวิทยุสมัครเล่นอื่น ๆ ได้เช่นกัน.

สัญญาณเรียกขาน


สัญญาณเรียกขานพิเศษในเหตุการณ์สำคัญต่างๆ มักจะมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานพิเศษ เพื่อใช้สำหรับการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งนักวิทยุหลายคนก็คอยจะติดต่อกับสถานีพิเศษเหล่านี้ เพื่อจะขอรับบัตรยืนยันการติดต่อไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งในบางโอกาสอาจมีการใช้ prefix พิเศษ เช่น HS2000 ซึ่งเป็นสถานีรายงานการปรับเปลี่ยนปี ค.ศ. ใหม่ HS50A สัญญาณเรียกขานพิเศษสำหรับเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี.

การแข่งขัน


การแข่งขัน
การแข่งขัน หรือ Contesting หรือ Radiosport คือ กิจกรรมการแข่งขันของนักวิทยุสมัครเล่นที่จัดและดำเนินการโดยนักวิทยุสมัครเล่น ซึ่งในการแข่งขันนั้น สถานีวิทยุสมัครเล่น อาจออกอากาศด้วยนักวิทยุสมัครเล่นเพียงคนเดียวหรือรวมกลุ่มกัน เพื่อจะพยายามติดต่อสถานีวิทยุสมัครเล่นอื่นๆ ให้ได้มากที่สุดภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยในการติดต่อกันนั้นจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันด้วย ซึ่งกติกาการแข่งขันนั้นก็จะกำหนดความถี่ที่ใช้ในการติดต่อและข้อมูลที่ต้องแลกเปลี่ยนกันในแต่ละครั้ง ซึ่งการติดต่อแต่ละสถานีจะถูกคำนวณออกมาเป็นคะแนน ซึ่งจะนำมาจัดลำดับหลังจากจบการแข่งขัน การแข่งขันแต่ละรายการจะมีผู้สนับสนุนและกติกาแตกต่างกันออกไป ส่วนมากผลการแข่งขันจะประกาศในนิตยสารวิทยุสมัครเล่นที่เป็นที่รู้จักหรือตามเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยุสมัครเล่น นับวันจะมีจำนวนการแข่งขันเพิ่มขึ้น รวมทั้งนักวิทยุสมัครเล่นที่เข้าร่วมแข่งขันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนักวิทยุสมัครเล่นหลายๆ คน มักเข้าร่วมแข่งขันเป็นประจำทุกรายการ เหมือนกับว่าเป็นกิจกรรมหลักของนักวิทยุสมัครเล่นนั้น ๆ ก็ว่าได้.

รางวัล

รางวัล
มีรางวัลสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นที่สามารถติดต่อ (มักนิยมเรียกว่า "Work") กับสถานีวิทยุสมัครเล่นในส่วนต่างๆ ของโลก มากมายหลายรางวัล รางวัลที่เป็นที่นิยมได้แก่ รางวัล DX Century Club (DXCC) คือรางวัลที่ให้กับผู้ที่สามารถติดต่อและยืนยันด้วยบัตรยืนยันการติดต่อได้ 100 ประเทศขึ้นไป จากทั้งหมด 335 ประเทศ ซึ่งเป็นรางวัลที่นิยมมากที่สุด ถ้าใครได้รับรางวัลนี้ก็เป็นการพิสูจน์ว่าเป็นผู้มีทักษะและความพยายาม ในการใช้ความสามารถในการติดต่อได้หลายประเทศ นอกจากนี้ยังมี รางวัล Work All States สำหรับผู้ที่สามารถติดต่อครบทุกรัฐของสหรัฐอเมริกา รางวัล Work All Continents ให้กับผู้ที่สามารถติดต่อได้ครบ 6 ทวีปของโลก รางวัล Work All Zones มอบให้ผู้ที่ติดต่อได้ครับ.

การจับกลุ่มคุยกัน

การจับกลุ่มคุยกัน
นักวิทยุสมัครเล่นจำนวนไม่น้อยชอบที่จะพูดคุยกับนักวิทยุสมัครเล่นคนอื่น ๆ บนความถี่วิทยุเป็นประจำ โดยการคุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คน เรียกการจับกลุ่มคุยแบบนี้ว่า "Rag Chew" การคุยกันแบบนี้นับได้ว่ามีมาตั้งแต่เริ่มแรกของวิทยุสมัครเล่นเลยก็ว่าได้
เรื่องที่พูดคุยกันนั้นก็เป็นเรื่องทั่วๆ ไป หรือเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น เช่น ความรู้สายอากาศ การซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยทั่วไปนักวิทยุสมัครเล่นมักนิยมแลกเปลี่ยนบัตรยืนยันการติดต่อ หรือ QSL card ระหว่างกัน เพื่อที่จดบันทึกการติดต่อสื่อสารครั้งนั้นไว้ ซึ่งรางวัลต่าง ๆ ในกิจการวิทยุสมัครเล่น หลายรางวัลจำเป็นต้องใช้บัตรยืนยันการติดต่อนี้เพื่อรับรางวัล นักวิทยุสมัครเล่นบางคนก็นิยมเก็บสะสม เพราะมีความสวยงาม.




การติดต่อทางไกล (DX)
นักวิทยุสมัครเล่นหลายคนก็นิยมติดต่อกับสถานีที่อยู่ไกลออกไปจากที่อยู่ของตนเอง เช่น ติดต่อกันผ่านความถี่ย่าน HF ซึ่งสามารถติดต่อระหว่างประเทศ ระหว่างทวีปได้ทั่วโลก หรือแม้กระทั่งพยายามใช้ความถี่ย่าน VHF สามารถติดต่อได้ไกลๆ โดยเทคนิคด้านการสื่อสารแบบต่าง เช่น การติดต่อสื่อสารโดยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวพื้นดวงจันทร์ เป็นต้น การเดินทางไปติดต่อตามสถานที่ต่างๆ (DX-peditions)
มีหลายประเทศหรือหลายสถานที่ ที่มีนักวิทยุสมัครเล่นอยู่น้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งเป็นที่ต้องการของนักวิทยุสมัครเล่นจากส่วนต่างๆ ของโลกที่ต้องการติดต่อกับสถานีวิทยุสมัครเล่นในสถานที่เหล่านี้ ซึ่งอาจมีการวมตัวกันเดินทางไปตั้งสถานีชั่วคราว เพื่อทำการติดต่อออกมาจากสถานที่เหล่านี้ ซึ่งการเดินทางไปเช่นนี้เรียกว่า DX-peditions ซึ่งถ้าเป็นการเดินทางไปยังสถานที่ที่ยากลำบากหรือมีความต้องการติดต่อกับสถานที่นั้นมาก จะสามารถติดต่อได้เป็นแสนสถานีจากทั่วทุกประเทศ ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์

Episode 4

การติดต่อด้วยรหัสมอร์สนั้นเป็นส่วนช่วยให้นักวิทยุสมัครเล่นที่อยู่คนละประเทศ พูดคนละภาษา แต่สามารถใช้รหัสมอร์สพูดคุยหรือสื่อสารกันได้ด้วยรูปแบบที่เป็นสากล และที่สำคัญเครื่องรับ-ส่ง CW นั้นสามารถสร้างได้ง่ายอีกด้วย สำหรับการติดต่อสื่อสารในปัจจุบันที่ทันสมัยของนักวิทยุสมัคเล่นโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนเสริมให้การติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอลได้รับความนิยมขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งหากเป็นสมัยก่อนจะต้องใช้เครื่องมือมากมายในการติดต่อสื่อสารที่เป็นดิจิตอล ที่ผ่านมานักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ริเริ่มนำระบบ Packet Radio เข้ามาใช้งาน ซึ่งต่อมาได้มีหลายๆ องค์กรนำไปพัฒนาและใช้งานให้เกิดประโยชน์มากมาย อีกทั้งนักวิทยุสมัครเล่นยังได้พัฒนาการติดต่อสื่อสารดิจิตอลอีกหลายรูปแบบ เช่น PSK31 ที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารแบบทันทีและใช้กำลังส่งที่น้อยในความถี่คลื่นสั้น (HF) WSJT ซึ่งนิยมใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารที่สัญญาณอ่อนมากๆ โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ การติดต่อสื่อสารด้วยภาพคล้ายการส่งสัญญาณโทรทัศน์นักวิทยุสมัครเล่นก็สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้งานได้เช่นกัน.


เป็นอย่างกันบ้างครับเมืออ่านมาถึงตรงนี้ มีความรู้สึกว่าประเทศไทยนั้นไม่ได้น้อยกว่าต่างชาติและยังมีประวัติที่ยาวนานด้วย เห็นด้วยกับผมไหมครับ.

Episode 3

สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย พยายามดำเนินการกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทยให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยขออนุญาตทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่นมาโดยตลอด เช่น การเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันระดับนานาชาติในรายการแข่งขันวิทยุสมัครเล่นต่างๆ รวมทั้งเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันรายการต่างๆ หลายรายการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติในสมัยนั้น ให้มีการจัดตั้งสถานีชั่วคราวขึ้นได้
ต่อมามีการจัดตั้ง "ชมรมวิทยุอาสาสมัคร" ในปี พ.ศ. 2524 ขึ้น โดย พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น และได้มีการจัดให้มีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ซึ่งในครั้งนั้นมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานเป็น "VR" โดยเริ่มจาก VR001 ไปเรื่อยๆ มีผู้สมัครสอบประมาณ 500 คน และสอบผ่าน 311 คน ผู้ที่สอบได้จะเรียกตัวเองว่า นักวิทยุอาสาสมัคร
แต่เป็นที่ทราบกันดีว่านักวิทยุอาสาสมัครได้ใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่น ช่วยเหลือสังคม และงานต่างๆ ของทางราชการตลอดมา ซึ่งก็เป็นครั้งแรกที่ประชาชนทั่วไปได้มีสิทธิใช้งานความถี่วิทยุ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า การเมือง และศาสนา ซึ่งหลังจากนั้นคณะกรรมการชมรม ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบของสมาคม ภายใต้ชื่อ "สมาคมวิทยุอาสาสมัคร" มีชื่อภาษาอังฤษว่า "Voluntary Radio Association (VRA)" ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมนักวิทยุอาสาสมัคร ช่วยเหลือสังคมและสาธารณประโยชน์แลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคนิคระหว่างสมาชิกและพัฒนาวิชาการด้านวิทยุคมนาคม โดยการปฏิบัติการติดต่อสื่อสารของสมาชิกทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือศาสนา และไม่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการเมือง

Episode 2

สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย พยายามดำเนินการกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทยให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยขออนุญาตทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่นมาโดยตลอด เช่น การเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันระดับนานาชาติในรายการแข่งขันวิทยุสมัครเล่นต่างๆ รวมทั้งเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันรายการต่างๆ หลายรายการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติในสมัยนั้น ให้มีการจัดตั้งสถานีชั่วคราวขึ้นได้
ต่อมามีการจัดตั้ง "ชมรมวิทยุอาสาสมัคร" ในปี พ.ศ. 2524 ขึ้น โดย พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น และได้มีการจัดให้มีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ซึ่งในครั้งนั้นมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานเป็น "VR" โดยเริ่มจาก VR001 ไปเรื่อยๆ มีผู้สมัครสอบประมาณ 500 คน และสอบผ่าน 311 คน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ผู้ที่สอบได้จะเรียกตัวเองว่า นักวิทยุอาสาสมัคร
แต่เป็นที่ทราบกันดีว่านักวิทยุอาสาสมัครได้ใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่น ช่วยเหลือสังคม และงานต่างๆ ของทางราชการตลอดมา ซึ่งก็เป็นครั้งแรกที่ประชาชนทั่วไปได้มีสิทธิใช้งานความถี่วิทยุ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า การเมือง และศาสนา ซึ่งหลังจากนั้นคณะกรรมการชมรม ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบของสมาคม ภายใต้ชื่อ "สมาคมวิทยุอาสาสมัคร" มีชื่อภาษาอังฤษว่า "Voluntary Radio Association (VRA)" ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมนักวิทยุอาสาสมัคร ช่วยเหลือสังคมและสาธารณประโยชน์แลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคนิคระหว่างสมาชิกและพัฒนาวิชาการด้านวิทยุคมนาคม โดยการปฏิบัติการติดต่อสื่อสารของสมาชิกทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือศาสนา และไม่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการเมือง

ประวัติกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย

สวัสดีเพื่อนๆที่หลงใหลในการใชวิทยุ VR และ CB วันนื้ผมเลยถือโอกาสเริ่มต้นเขียน บล๊อก เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่พอมีกับเขาอยู่บ้างให้กัยบเพื่อนๆ พี่ ๆ แต่ในวันนี้ ผมได้ลอกข้อความประวัติกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย มาให้อ่านเล่นกันก่อน ครับ.



ประวัติกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 มีการก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Radio Amateur Society of Thailand (RAST)
ก่อนหน้านั้น กิจการวิทยุสมัครเล่น มีขึ้นในประเทศไทยหลายสิบปีแล้ว จากการบอกกล่าวของนักวิทยุสมัครเล่นรุ่นแรกๆเล่าว่าได้มากกว่า 60 ปี แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากทั้งประชาชนทั่วไปและจากรัฐบาลเท่าใดนัก
นับจากก่อตั้งเป็นเวลากว่า 40 ปีที่ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปมากขึ้นเป็นลำดับ
โดยที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ "เพื่อเป็นสมาคมของนักวิทยุสมัครเล่นที่มิใช่เพื่อการค้า แต่รวมกันเพื่อส่งเสริมความสนใจเกี่ยวกับการทดลองวิทยุเพื่อความก้าวหน้าทางศิลปการวิทยุ และผดุงไว้ซึ่งชื่อเสียงของนักวิทยุสมัครเล่น ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง"

กิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นกิจการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้กับบุคคลที่มีความสนใจที่จะศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องการติดต่อสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ เป็นการพัฒนาความรู้เชิงวิชาการ เกี่ยวกับเครื่องรับ-ส่งวิทยุสายอากาศ สายนำสัญญาณ การแพร่กระจายของคลื่นวิทยุ โดยไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่จะตอบแทนเป็นเงิน ธุรกิจการค้า และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ผลพลอยได้จากกิจการวิทยุสมัครเล่นซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นได้รับมีหลายประการ เช่น ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความเข้าใจที่ดีในหมู่นักวิทยุสมัครเล่นด้วยกัน รวมทั้งช่วยเหลือสังคมตามแต่เวลา และโอกาสที่เหมาะสมทั้งในยามปกติหรือยามฉุกเฉิน และช่วยสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติ



ติดตามตอนต่อไป......

สน.ท่าข้ามจัดฝึกอบรมตำรวจชุมชนสะแกงาม(ตชต.สะแกงาม)

Photobucket
วันอาทิตย์ที่ 20ธันวาคม 2552 เวลา 08.30น.
ถึงเวลา 17.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการสายตรวจ
Photobucket
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
พ.ต.ต. ธนเดช ทีนาคะ สวป.ฯ
พ.ต.ต. ตรง ฝึกฝน สวป ฯ
ร.ต.ท.อัครวิทน์ พีระภานนท์ รอง สวปฯ

ร่วมกันจักการฝึกอบรม ตำรวจชุมชนสะแกงาม
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการแก้ไขและป้องกันปัญหาอาชญากรรม ตามคำรับรองการปฏิบัติของสถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม ประจำปี 2553
Photobucket
ถ่ายภาพหมู่
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
กับโฉมหน้า ตชต.สะแกงามทุกนาย.
Photobucket
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
กำลังอบรมให้กับ ตชต.สะแกงาม.

พบเจอ!!เหตุการณ์ต่างๆ นำมาแบ่งปันให้ชมกันได้ครับ

หากพบเจอเหตุการณ์ต่างๆสามารถร่วมแบ่งปันเหตุการณ์ต่างๆได้ที่นี่โดยมีขั้นตอนดังนี่
1 ถ่ายภาพมากี่ภาพก็ได้ แบบชัดเจนที่สุด
2 ตั้งสติรวบรวมรายละเอียดทั้งหมด(เท่าที่จะนำมาได้)
3 แนบไฟล์ เรียบร้อย
4 ส่งมาที่ bomship@hotmail.com
5 ทางเราจะรับและพิจณา .....