ต้อนรับวันสงกรานต์ 13-15 เมษานี้

ต้อนรับวันสงกรานต์ 13-15 เมษานี้
วันสงกรานต์เป็นราชพิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีในเดือนห้า ตามที่ปรากฏในหนังสือนางนพมาศ เดิมเป็นประเพณีของอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งพระสงฆ์ไทยได้นำพิธีมาจากลังกา และเข้ามาเป็นพระราชประเพณี และประเพณีของไทย เพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แบบโบราณ ตามจารีตประเพณีโบราณไทยเราเคยถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ที่ถือฤดูเหมันต์เป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาจารีตนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ โดยใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ครั้นเมื่อเราเริ่มปีใหม่ตามเกณฑ์จุลศักราช ปีใหม่ก็ตกราววันที่ 13 เมษายน เป็นประเพณีวันสงกรานต์มี 3 วันคือ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนาและวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกคือเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ในส่วนของราชพิธีมีการตั้งเครื่องบูชาพระพุทธรูปด้วยการถวายข้าวบิณฑ์ การก่อพระเจดีย์ทราย การขนทรายเข้าถมลานวัด ซึ่งเดอมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า และเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยมีการพระราชกุศล เช่นมีการสรงน้ำในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น.

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

23 ตุลาคม วันปิยะมหาราช พระราชบิดาแห่งการโทรคมนาคมไทย

23 ตุลาคม วันปิยะมหาราช พระราชบิดาแห่งการโทรคมนาคมไทย

โดย ปรเมศวร์ กุมารบุญ

ในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ ๕) วิลเลี่ยม เฮนรี่ รีด กลับมาอีกครั้ง เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างระบบโทรเลขในสยามภายใต้เงื่อนไขเดิมที่ให้ไว้กับในหลวงรัชกาลที่ ๔ แต่ครั้งนี้พระองค์ทรงปฏิเสธ ดังปรากฏในหนังสือ ประวัติ และวิวัฒนาการการไปรษณีย์ไทย ว่า “ทรงพระราชดำริพร้อมด้วยเคาซิลว่า ไม่ควรให้มิสเตอร์รีดจัดทำ แต่ครั้นจะไม่ทรงยอมมีพระบรมราชานุญาตตรงๆ คำที่ทรงยอมไว้แต่เดิมในรัชกาลก่อน (รัชกาลที่๔) ก็จะเสียไป จึงทรงบ่ายเบี่ยงไปว่า สยามตกลงจะดำเนินกิจการโทรเลขเอง ไม่อาจอนุมัติให้ มิสเตอร์รีด จัดทำได้” ทั้งนี้เพราะเงื่อนไขเดิมของรีดระบุว่า หลังจากดำเนินการสร้างสายโทรเลขเสร็จ อังกฤษจะมีสิทธิเต็มที่ในทรัพย์สินและสามารถจัดตั้งบริษัทก่อสร้าง และบำรุงรักษาสายโทรเลขที่วางผ่านจังหวัดต่างๆ ได้แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ อาจทรงเห็นว่าเป็นเสียเปรียบเกินไป
เมื่อปฏิเสธมิสเตอร์รีดแล้ว สยามจึงต้องเริ่มวางระบบโทรเลขทันที โดยขอประสานการดำเนินกิจการกับบริษัทกิจการโทรเลขแห่งหนึ่งในสหพันธรัฐมลายา (มาเลเซีย) แต่ครั้งนั้นก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จจนต้องหยุดโครงการไปพักใหญ่ และกลับมาเริ่มต้นจริงจังอีกครั้งเมื่อ เมอซิเออร์กาเนียร์ กงสุลฝรั่งเศส เข้ามาเจรจาในปีเดียวกัน ดังปรากฏบันทึกในหนังสือที่ระลึก ๑๐๐ ปี การโทรคมนาคมของการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า “ทางการเมืองไซ่ง่อนปรารถนาจะสร้างสายโทรเลขต่อเข้ามาในประเทศไทย การเดินสายโทรเลขในเขตของไทย รัฐบาลฝรั่งเศสรับเป็นธุระจัดสร้างให้เสร็จ เพียงแต่ขอความช่วยเหลือให้ประเทศไทยตัดเสาที่จะพาดสายให้เท่านั้น

เมื่อทำการแล้วเสร็จก็จะยกทางสายโทรเลขให้เปล่าตั้งแต่เขตแดนเขมรเข้ามาจนถึงกรุงเทพฯ” ส่งผลให้ “รัฐบาลอังกฤษซึ่งเป็นคู่แข่งขัน ยื่นหนังสือขอให้งดการที่จะรับทำกับฝรั่งเศสเสีย และว่ารัฐบาลอังกฤษที่ประเทศอินเดีย จะขอสร้างสายโทรเลขติดต่อกับไทยเข้ามาทางเมืองทวายบ้าง”

เพื่อตัดปัญหาที่เกิดขึ้น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างระบบโทรเลขด้วยพระองค์เองทันที โดยให้อยู่ในความดูแลของกรมกลาโหม จากนั้นได้ทำการวางสายโทรเลขสายแรก ในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ คือ สายกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ความยาว ๔๕ กิโลเมตร ต่อมาได้ขยายเส้นทางเดินสายไปถึงแหลมภูราย จากนั้นได้ทอดสายลวดใหญ่ใต้น้ำ (เคเบิลใต้น้ำ) ต่อออกไปจนถึงประภาคารที่ปากน้ำเจ้าพระยา และสายที่ ๒ คือ สายกรุงเทพฯ-บางปะอิน และขยายต่อไปจนถึงพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ โดยในระยะแรกจะมีการใช้โทรเลขในทางราชการเท่านั้น จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๖ จึงเปิดโทรเลขสายตะวันออก (กรุงเทพฯ-ไซ่ง่อน) เป็นบริการสาธารณะ โทรเลขสายนี้ยังถือเป็นสายแรกของไทยที่สามารถติดต่อกับต่างประเทศได้โดยตรงอีกด้วย นับแต่นั้น โทรเลขก็กลายเป็นระบบการสื่อสารสำหรับคนทุกระดับชั้น ตั้งแต่กษัตริย์ถึงสามัญชน

จนกระทั่งได้เปิดให้มีบริการสำหรับประชาชนเป็นครั้งแรก เมื่อ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ โดยมีอัตราค่าบริการ “คำละ ๑ เฟื้อง” จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเป็น “กรมโทรเลข” และมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการกรมโทรเลข จากนั้นกลาโหมได้เริ่มมีการนำโทรศัพท์เข้ามาเพื่อแจ้งข่าวเรือเข้าออกระหว่างปากน้ำ สมุทรปราการ กับ กรุงเทพฯ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๔ และมอบให้กรมโทรเลขดูแลต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มี ว.8 ใด ให้ส่งมาจะ 61 อย่างมากมายครับ.
เทียนทะเลต้องการเพียงแค่คนมี "ใจ" อย่างอื่นเอาไว้ทีหลัง

สน.ท่าข้ามจัดฝึกอบรมตำรวจชุมชนสะแกงาม(ตชต.สะแกงาม)

Photobucket
วันอาทิตย์ที่ 20ธันวาคม 2552 เวลา 08.30น.
ถึงเวลา 17.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการสายตรวจ
Photobucket
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
พ.ต.ต. ธนเดช ทีนาคะ สวป.ฯ
พ.ต.ต. ตรง ฝึกฝน สวป ฯ
ร.ต.ท.อัครวิทน์ พีระภานนท์ รอง สวปฯ

ร่วมกันจักการฝึกอบรม ตำรวจชุมชนสะแกงาม
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการแก้ไขและป้องกันปัญหาอาชญากรรม ตามคำรับรองการปฏิบัติของสถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม ประจำปี 2553
Photobucket
ถ่ายภาพหมู่
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
กับโฉมหน้า ตชต.สะแกงามทุกนาย.
Photobucket
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
กำลังอบรมให้กับ ตชต.สะแกงาม.

พบเจอ!!เหตุการณ์ต่างๆ นำมาแบ่งปันให้ชมกันได้ครับ

หากพบเจอเหตุการณ์ต่างๆสามารถร่วมแบ่งปันเหตุการณ์ต่างๆได้ที่นี่โดยมีขั้นตอนดังนี่
1 ถ่ายภาพมากี่ภาพก็ได้ แบบชัดเจนที่สุด
2 ตั้งสติรวบรวมรายละเอียดทั้งหมด(เท่าที่จะนำมาได้)
3 แนบไฟล์ เรียบร้อย
4 ส่งมาที่ bomship@hotmail.com
5 ทางเราจะรับและพิจณา .....