ต้อนรับวันสงกรานต์ 13-15 เมษานี้

ต้อนรับวันสงกรานต์ 13-15 เมษานี้
วันสงกรานต์เป็นราชพิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีในเดือนห้า ตามที่ปรากฏในหนังสือนางนพมาศ เดิมเป็นประเพณีของอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งพระสงฆ์ไทยได้นำพิธีมาจากลังกา และเข้ามาเป็นพระราชประเพณี และประเพณีของไทย เพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แบบโบราณ ตามจารีตประเพณีโบราณไทยเราเคยถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ที่ถือฤดูเหมันต์เป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาจารีตนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ โดยใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ครั้นเมื่อเราเริ่มปีใหม่ตามเกณฑ์จุลศักราช ปีใหม่ก็ตกราววันที่ 13 เมษายน เป็นประเพณีวันสงกรานต์มี 3 วันคือ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนาและวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกคือเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ในส่วนของราชพิธีมีการตั้งเครื่องบูชาพระพุทธรูปด้วยการถวายข้าวบิณฑ์ การก่อพระเจดีย์ทราย การขนทรายเข้าถมลานวัด ซึ่งเดอมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า และเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยมีการพระราชกุศล เช่นมีการสรงน้ำในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น.

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความเป็นมาของกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย

ความเป็นมาของกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
กิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ได้เริ่มด้วยกลุ่มผู้สนใจในกิจการ วิทยุสมัครเล่น รวมตัวก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่น แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2507 และได้พยายามขออนุญาต มีและใช้เครื่องวิทยุ โทรคมนาคม สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น ให้ถูกต้อง ตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้ รับอนุญาตเนื่องจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับความมั่นคงของชาต ิยังไม่มั่นใจว่า กิจการวิทยุสมัครเล่นจะได้ประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ และการ ควบคุมจะทำได้เพียงใด เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการวิทยุสมัครเล่นอีกทางหนึ่ง กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้มีโครงการ ทดลองให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นในรูปของ นักวิทยุอาสาสมัคร หรือ VR ขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2524 กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เปิดข่าย วิทยุอาสาสมัครขึ้นโดยจัดตั้งเป็น ชมรมนักวิทยุอาสาสมัคร มีผู้อำนวยการกองต่าง ๆ สังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็น คณะกรรมการชมรมฯ และอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็น ประธานชมรมฯ ผู้ที่จะเป็นสมาชิกจะต้องได้รับประกาศนียบัตร พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น และต้องผ่านการสอบประวัติจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และจากกรมตำรวจ ว่าไม่เป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของ ประเทศชาติ เมื่อมีคุณสมบัติ ครบถ้วนแล้ว กรมไปรษณีย์โทรเลขจะออกใบอนุญาต มีและใช้ เครื่องวิทยุโทร- คมนาคมและอนุญาตให้เป็น นักวิทยุอาสาสมัครหรือ VR โดยการกำหนดสัญญาณ เรียกขาน (CALL SIGN) ให้ สัญญาณเรียกขานที่กำหนดขึ้น จะขึ้นต้นด้วย VR และตามด้วยตัวเลขจาก VR001 ไปตามลำดับก่อนหลัง เพื่อให้การกำกับดูแล การใช้วิทยุคมนาคม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้จัดตั้ง ศูนย์ควบคุมข่ายมีสัญญาณเรียกขานว่า "ศูนย์สายลม" ขึ้นที่บริเวณ ภายในกรมไปรษณีย์โทรเลขและ อนุญาตให้ใช้ ความถี่ได้เพียง 3 ช่องคือ 144.500 - 144.600 และ 144.700 MHz ในการเปิดสอบรุ่นแรกมีผู้สอบได้รับประกาศนียบัตร พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น จำนวน 312 คน การใช้ช่องความถี่ในการติดต่อสื่อสาร เริ่มหนาแน่นขึ้นเมื่อ จำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2525 กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เพิ่มความถี่ให้อีกหนึ่งช่องคือ 145.000 MHz เป็นช่องสำหรับแจ้งเหตุ โดยศูนย์สายลมทำหน้าที่ ประสานงานให้ระหว่างนักวิทยุสมัครเล่น และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ โดยนักวิทยุสมัครเล่นทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับทางราชการ ในกรณีที่นักวิทยุสมัครเล่นพบเห็นผู้กระทำ ความผิด ก็จะแจ้งให้ศูนย์สายลมทราบ เมื่อศูนย์สายลมรับข่าวแล้ว จะทำหน้าที่ กลั่นกรองเรียบเรียงข่าวนั้น ให้เป็นไปตามหลักการ ของการส่งข่าวที่ถูกต้อง ก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อ ดำเนินการตามหน้าที่ต่อไป ในทางกลับกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องการให้นักวิทยุสมัครเล่น ช่วยสังเกตผู้กระทำผิดกฎหมาย เช่น คดีรถหายหรือคดีชนแล้วหนี ตำรวจแจ้งให้ศูนย์สายลมทราบ เพื่อกระจายข่าว ให้นักวิทยุสมัครเล่นได้ช่วยสังเกต และติดตามเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโครงการ สายตรวจ ร่วมระหว่างนักวิทยุสมัครเล่น กับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยให้ นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ใช้เครื่องวิทยุ และความถี่วิทยุในย่านของ กิจการวิทยุสมัครเล่น ในการติดต่อประสานงาน และใช้ยานพาหนะของ นักวิทยุสมัครเล่น ออกตรวจตามถนนสายต่าง ๆ ในตอนกลางคืนโดยมีเป้าหมาย เพื่อที่จะให้หน่วยงานที่มี หน้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง เห็นประโยชน์ ของกิจการ วิทยุสมัครเล่น ในปีพ.ศ. 2526 ได้มีการจัดตั้งสมาคม นักวิทยุอาสาสมัครขึ้น เพื่อให้เป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย จากผลงานที่นักวิทยุสมัครเล่น ในรูปของนักวิทยุอาสาสมัคร ได้รับการยอมรับว่า กิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นกิจการที่มีประโยชน์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 กรมไปรษณีย์โทรเลขจึง ได้อนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่น ในประเทศไทยได้ โดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการ ประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุ แห่งชาติ (กบถ.) ซึ่งออกเป็นระเบียบของคณะกรรมการ ประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุ แห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 ผลของระเบียบนี้ทำให้ต้อง มีการกำหนดสัญญาณเรียกขานให้เป็น ตามสากล เช่น VR001 เป็น HS1BA และ VR คนสุดท้ายคือ VR2953 ดังนั้นนักวิทยุสมัครเล่นทุกคนจะต้องมี สัญญาณ เรียกขานสากล ที่ขึ้นต้นด้วย HS ซึ่งหมายถึงประเทศไทย ตามด้วยเลข 1 ถึง 0 โดยตัวเลขในสัญญาณเรียกขานนั้น จะแสดงให้ทราบว่านักวิทยุสมัครเล่น คนนั้นอยู่ในเขตใด เช่น HS1 และ HS0 หมายถึงนักวิทยุสมัครเล่นภาคกลาง HS9 หมายถึงนักวิทยุสมัครเล่น ที่อยู่ภาคใต้ เป็นต้น และตามด้วยอักษร 2 ตัว และ 3 ตัวตามลำดับ ปัจจุบันมีผู้สอบได้รับ ประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น แล้ว จำนวนมากกว่า 160,000 คน และผู้ได้รับอนุญาต มี CALL SIGN แล้วจำนวนมากกว่า 92,000 คน จำนวนช่องความถี่ที่ได้รับอนุญาต ให้เพิ่มขึ้น เต็มย่านVHF จำนวน 81 ช่อง และเพื่อความรอบคอบในกรณีที่ สัญญาณเรียกขาน ที่ขึ้นต้นด้วย HS จัดให้หมดแล้ว กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ขอให้ สหภาพโทร-คมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) กำหนดอักษรสำหรับ CALL SIGN ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นใหม่ ITU ได้กำหนดให้ใช้ E2 ซึ่งจะใช้แทน HS ต่อไป กิจการวิทยุสมัครเล่นไทยได้สร้างเกียรติประวัติ ในการช่วยเหลือทางราชการ ในการแจ้งข่าว เมื่อเกิดพายุเกย์พัดเข้าบริเวณจังหวัดชุมพร และจังหวัดใกล้ เคียงปลายปี พ.ศ. 2532 ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เสาไฟฟ้าแรงสูง และสายอากาศวิทยุ ถูกพายุพัดล้ม เสียหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งระบบสื่อสารของ ทางราชการถูกตัดขาด ไม่สามารถติดต่อกันได้ รัฐบาล ได้ขอความร่วมมือ นักวิทยุสมัครเล่น ให้ช่วยติดต่อรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้น ให้รัฐบาลได้ทราบ เพื่อให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบเคราะห์กรรม เหล่านั้น นักวิทยุสมัครเล่น ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้รัฐบาลสามารถทราบถึงความ เดือดร้อนและ ความเสียหายของ ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ รัฐบาลได้เห็น ประโยชน์ ของนักวิทยุเป็นอย่างดียิ่ง และยอมรับว่ากิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นกิจ-การที่มีความสำคัญ ควรได้รับการสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มี ว.8 ใด ให้ส่งมาจะ 61 อย่างมากมายครับ.
เทียนทะเลต้องการเพียงแค่คนมี "ใจ" อย่างอื่นเอาไว้ทีหลัง

สน.ท่าข้ามจัดฝึกอบรมตำรวจชุมชนสะแกงาม(ตชต.สะแกงาม)

Photobucket
วันอาทิตย์ที่ 20ธันวาคม 2552 เวลา 08.30น.
ถึงเวลา 17.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการสายตรวจ
Photobucket
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
พ.ต.ต. ธนเดช ทีนาคะ สวป.ฯ
พ.ต.ต. ตรง ฝึกฝน สวป ฯ
ร.ต.ท.อัครวิทน์ พีระภานนท์ รอง สวปฯ

ร่วมกันจักการฝึกอบรม ตำรวจชุมชนสะแกงาม
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการแก้ไขและป้องกันปัญหาอาชญากรรม ตามคำรับรองการปฏิบัติของสถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม ประจำปี 2553
Photobucket
ถ่ายภาพหมู่
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
กับโฉมหน้า ตชต.สะแกงามทุกนาย.
Photobucket
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
กำลังอบรมให้กับ ตชต.สะแกงาม.

พบเจอ!!เหตุการณ์ต่างๆ นำมาแบ่งปันให้ชมกันได้ครับ

หากพบเจอเหตุการณ์ต่างๆสามารถร่วมแบ่งปันเหตุการณ์ต่างๆได้ที่นี่โดยมีขั้นตอนดังนี่
1 ถ่ายภาพมากี่ภาพก็ได้ แบบชัดเจนที่สุด
2 ตั้งสติรวบรวมรายละเอียดทั้งหมด(เท่าที่จะนำมาได้)
3 แนบไฟล์ เรียบร้อย
4 ส่งมาที่ bomship@hotmail.com
5 ทางเราจะรับและพิจณา .....