ต้อนรับวันสงกรานต์ 13-15 เมษานี้

ต้อนรับวันสงกรานต์ 13-15 เมษานี้
วันสงกรานต์เป็นราชพิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีในเดือนห้า ตามที่ปรากฏในหนังสือนางนพมาศ เดิมเป็นประเพณีของอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งพระสงฆ์ไทยได้นำพิธีมาจากลังกา และเข้ามาเป็นพระราชประเพณี และประเพณีของไทย เพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แบบโบราณ ตามจารีตประเพณีโบราณไทยเราเคยถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ที่ถือฤดูเหมันต์เป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาจารีตนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ โดยใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ครั้นเมื่อเราเริ่มปีใหม่ตามเกณฑ์จุลศักราช ปีใหม่ก็ตกราววันที่ 13 เมษายน เป็นประเพณีวันสงกรานต์มี 3 วันคือ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนาและวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกคือเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ในส่วนของราชพิธีมีการตั้งเครื่องบูชาพระพุทธรูปด้วยการถวายข้าวบิณฑ์ การก่อพระเจดีย์ทราย การขนทรายเข้าถมลานวัด ซึ่งเดอมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า และเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยมีการพระราชกุศล เช่นมีการสรงน้ำในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น.

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประมวลรหัส Q (Q Code)

ประมวลรหัส Q (Q Code)
Q Code คือคำย่อซึ่งประเทศภาคีสมาชิก ในภาคีโทรเลขระหว่างประเทศกำหนดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเรื่องภาษา ในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุโทรเลข (ได้แก่ การส่งในระบบ CW-Continuous Wave) ระหว่างสถานีเรือกับสถานีตามชายฝั่ง ระหว่างสถานีเรือด้วยกัน และในกิจการด้านการบิน วัตถุประสงค์ในการใช้ประมวลรหัส Q มีดังนี้ 1.เพื่อลดเวลาในการรับ และส่งข้อความสำหรับวิทยุโทรเลข กล่าวคือ แทนที่จะต้องส่งข้อความยาว ๆ ซึ้งใช้เวลาในการรับ และส่ง จะใช้รหัสสั้น ๆ แทน เช่น แทนที่จะเคาะรหัสมอร์สว่า " สถานีใดเรียกข้าพเจ้าอยู่ ?" จะเคาะรหัสมอร์สเพียงว่า "QRZ?" เป็นต้น 2.เพื่อลดปัญหาด้านภาษาที่ใช้ติดต่อกันทำให้นักวิทยุ ที่ไม่สันทัดภาษาอังกฤษ สามารถแจ้งข่าวสารแก่กันได้ง่ายขึ้น สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่นใช้รหัส Q สำหรับการติดต่อในระบบ CW ซึ่งเป็นระบบวิทยุโทรเลข ส่วนในระบบวิทยุโทรศัพท์นั้นไม่จำเป็นต้องใช้รหัส Q เพราะเสียงพูดสามารถส่ง และรับได้เร็วกว่าการใช้ รหัสมอร์ส และมีเวลาเพียงพอที่จะอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ได้ตามต้องการ และเข้าใจได้ชัดเจนด้วย อย่างไรก็ตาม มีรหัส Q บางคำที่นิยมใช้จนติดปาก และเป็นที่ยอมรับ จนนิยมนำมาใช้ในระบบวิทยุโทรศัพท์ด้วย รหัส Q แต่ละคำประกอบด้วยพยัญชนะ 3 ตัว ตัวแรกขึ้นต้นด้วย Q เสมอมีตั้งแต่ QAA-QUZ และแต่ล่ะคำมีความหมายเป็นได้ตั้งคำถาม และคำตอบ ประมวลรหัส Q (Q Code) ที่นิยมใช้ (เรียงลำดับตามอักษรภาษาอังกฤษ) Q Code คำถาม คำตอบ หมายเหตุQRA สถานีของท่านชื่ออะไร ? QRB ท่านอยู่ห่างจากสถานีของข้าพเจ้าเท่าใด ?QRD ท่านจะไปที่ไหน และมาจากไหน ? QRE ท่านจะมาถึงเวลาใด ? QRG ท่านจะบอกความถี่แท้จริงของข้าพเจ้าได้ไหม ? QRH ความถี่ของข้าเจ้าเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ?QRK ท่านรับฟังข้อความของข้าพเจ้าได้ชัดเจนเพียงใด ? ข้าพเจ้ารับฟังข้อความของท่านได้...... 1. ไม่ได้เลย 2. ไม่ค่อยดี 3. พอใช้ 4. ดี 5. ดีเยี่ยม QRL ท่านกำลังมีธุระหรือ ? QRM ท่านกำลังถูกรบกวนหรือ ? ข้าพเจ้ากำลังถูกรบกวนในระดับ..... 1. ไม่ถูกรบกวน 2. เล็กน้อย 3. ปานกลาง 4. ค่อนข้างรุนแรง 5. รุนแรง QRN ท่านถูกรบกวนจาก ประจุไฟฟ้าในบรรยากาศหรือ ? ข้าพเจ้าถูกรบกวนโดยประจุไฟฟ้า ในบรรยากาศระดับ.... การรบกวนโดย ประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ1. ไม่ถูกรบกวน 2. เล็กน้อย 3. ปานกลาง 4. ค่อนข้างรุนแรง 5. รุนแรง QRO ขาพเจ้าจะเพิ่มกำลังส่งได้หรือไม่ ? เพิ่มกำลังส่งขึ้นอีก กำลังส่งสูงQRP ข้าพเจ้าจะลดกำลังส่งได้หรือไม่ ? QRQ ข้าพเจ้าจะส่งเร็วขึ้นได้หรือไม่ ? QRS ข้าพเจ้าจะส่งให้ช้าลงได้หรือไม่ ? QRT ข้าพเจ้าจะหยุดส่งได้หรือไม่ ? QRU ท่านมี ( ข้อความ) อะไรสำหรับข้าพเจ้าหรือไม่ ?QRV ท่านพร้อมหรือยัง ? QRW จะให้ข้าพเจ้าแจ้งเขาไหมว่าท่าน กำลังเรียกอยู่ที่ความถี่.....KHz(MHz) โปรดแจ้งเขาว่า ข้าพเจ้ากำลังเรียกเขาที่ความถี่.....KHz(MHz) QRX เมื่อใดท่านจะเรียกข้าพเจ้าอีก ? QRZ ใครกำลังเรียกข้าพเจ้า ? QSA ความแรงสัญญาณของข้าพเจ้าเป็นอย่างไร ? ความแรงสัญญาณ ของท่านอยู่ในระดับ..... 1. อ่อนมาก จนรับสัญญาณแทบจะไม่ได้เลย 2. อ่อน 3. แรงพอใช้ได้ 4. ดี 5. ดีมาก QSB สัญญาณของข้าพเจ้าจางหายหรือไม่ ? สัญญาณของท่านจางหาย QSL ท่ารับข้อความได้หรือ ไม่ ? QSM จะให้ข้าพเจ้าทวนข้อความสุดท้าย ซ้ำอีกหรือไม่ ? โปรดทวนข้อความสุดท้าย ซ้ำอีกครั้ง QSN ท่านได้ยินข้าพเจ้า ที่ความถี่.....KHz(MHz) หรือไม่ ? QSO ท่านสามารถติดต่อกับ...... ได้โดยตรง หรือไม่ QSP ท่านจะถ่ายทอดข้อความถึง.....ได้หรือไม่ ? ข้าพเจ้าจะถ่ายทอดข้อความไปถึง.....ได้ QSX ท่านจะรับฟัง.... ที่ความถี่..... KHz(MHz) ได้หรือไม่ ? ข้าพเจ้ากำลังรับฟัง....ที่ความถี่....KHz(MHz) QSY ข้าพเจ้าจะเปลี่ยนไปส่งด้วยความถี่อื่น ได้หรือไม่ ? ให้เปลี่ยนไปส่งด้วยความถี่อื่น QTH ตำแหน่งสถานีของท่านอยู่ที่ใด ? ตำแหน่งของสถานีของข้าพเจ้าอยู่ที่..... QTR ขณะนี้เวลาเท่าใด ? ขณะนี้เวลา.....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มี ว.8 ใด ให้ส่งมาจะ 61 อย่างมากมายครับ.
เทียนทะเลต้องการเพียงแค่คนมี "ใจ" อย่างอื่นเอาไว้ทีหลัง

สน.ท่าข้ามจัดฝึกอบรมตำรวจชุมชนสะแกงาม(ตชต.สะแกงาม)

Photobucket
วันอาทิตย์ที่ 20ธันวาคม 2552 เวลา 08.30น.
ถึงเวลา 17.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการสายตรวจ
Photobucket
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
พ.ต.ต. ธนเดช ทีนาคะ สวป.ฯ
พ.ต.ต. ตรง ฝึกฝน สวป ฯ
ร.ต.ท.อัครวิทน์ พีระภานนท์ รอง สวปฯ

ร่วมกันจักการฝึกอบรม ตำรวจชุมชนสะแกงาม
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการแก้ไขและป้องกันปัญหาอาชญากรรม ตามคำรับรองการปฏิบัติของสถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม ประจำปี 2553
Photobucket
ถ่ายภาพหมู่
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
กับโฉมหน้า ตชต.สะแกงามทุกนาย.
Photobucket
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
กำลังอบรมให้กับ ตชต.สะแกงาม.

พบเจอ!!เหตุการณ์ต่างๆ นำมาแบ่งปันให้ชมกันได้ครับ

หากพบเจอเหตุการณ์ต่างๆสามารถร่วมแบ่งปันเหตุการณ์ต่างๆได้ที่นี่โดยมีขั้นตอนดังนี่
1 ถ่ายภาพมากี่ภาพก็ได้ แบบชัดเจนที่สุด
2 ตั้งสติรวบรวมรายละเอียดทั้งหมด(เท่าที่จะนำมาได้)
3 แนบไฟล์ เรียบร้อย
4 ส่งมาที่ bomship@hotmail.com
5 ทางเราจะรับและพิจณา .....