ต้อนรับวันสงกรานต์ 13-15 เมษานี้

ต้อนรับวันสงกรานต์ 13-15 เมษานี้
วันสงกรานต์เป็นราชพิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีในเดือนห้า ตามที่ปรากฏในหนังสือนางนพมาศ เดิมเป็นประเพณีของอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งพระสงฆ์ไทยได้นำพิธีมาจากลังกา และเข้ามาเป็นพระราชประเพณี และประเพณีของไทย เพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แบบโบราณ ตามจารีตประเพณีโบราณไทยเราเคยถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ที่ถือฤดูเหมันต์เป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาจารีตนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ โดยใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ครั้นเมื่อเราเริ่มปีใหม่ตามเกณฑ์จุลศักราช ปีใหม่ก็ตกราววันที่ 13 เมษายน เป็นประเพณีวันสงกรานต์มี 3 วันคือ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนาและวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกคือเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ในส่วนของราชพิธีมีการตั้งเครื่องบูชาพระพุทธรูปด้วยการถวายข้าวบิณฑ์ การก่อพระเจดีย์ทราย การขนทรายเข้าถมลานวัด ซึ่งเดอมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า และเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยมีการพระราชกุศล เช่นมีการสรงน้ำในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น.

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ และ ระบบพิกัดกริด

ในการศึกษาแผนที่จะต้องอ่าน และแปลความหมายให้ถูกต้อง ตลอดจนการคำนวณหาตำแหน่งที่ตั้ง หรือคำนวณเวลาบนพื้นโลก ควรเข้าใจความหมายพื้นฐานของแผนที่ ได้แก่ ละติจูด ลองจิจูด วงกลมใหญ่ วงกลมเล็ก เส้นเมอริเดียน พิกัดภูมิศาสตร์ และพิกัดกริด
ระบบพิกัดอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ มี 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ
ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ และ ระบบพิกัดกริด
1. ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System) เป็นระบบพิกัดที่กําหนดตําแหน่ง บนพื้นโลก ด้วยวิธีการอ้างอิงตําแหน่งเป็นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด (Latitude) และ ลองจิจูด (Longitude) โดยเส้นเมริเดียน หรือ ลองติจูด (Longitude or meridians) จะลากจากขั้วโลกเหนือ
มายังขั้วโลกใต้ ซึ่งจะเริ่มนับจากเส้นเมริเดียนแรกเริ่มที่ 0 องศา (Prime Meridian) ที่ลากผ่านเมือง
กรีนิช(Greenwich) ประเทศอังกฤษไปทางทิศตะวันออก0-180 องศาและไปทางทิศตะวันตกของ
เส้นเมริเดียนแรกเริ่มจะมีค่า0- (-180) องศา ซึ่งเส้นเมริเดียนหรือลองติจูด ที่180 องศาตะวันออก
และตะวันตกจะเป็นเส้นเดียวกัน เส้นขนานละติจูด( Parallels) เริ่มที่เส้นที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร
(Equator) จะมีค่า0 องศาส่วนเส้นขนานละติจูดไปทางทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตรจะมีค่าจาก0-90
องศาจนถึงขั้วโลกเหนือและเส้นขนานละติจูดที่อยู่ทางทิศใต้ของเส้นศูนย์สูตรจะมีค่าจาก0-(-90)
องศาไปจนถึงขั้วโลกใต้
สำหรับศูนย์กำเนิดของละติจูด (Origin of Latitude) นั้นกำหนดขึ้นจากแนวระดับ ที่ตัดผ่านศูนย์กลางของโลกและตั้งฉากกับแกนหมุน เรียกแนวระนาบศูนย์กำเนิดนั้นว่า เส้นศูนย์สูตร (Equator) ซึ่งแบ่งโลกออกเป็นซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ฉะนั้นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด จะเป็นค่าเชิงมุมที่เกิดจากมุมที่ศูนย์กลางของโลก กับแนวระดับฐานกำเนิดมุมที่เส้นศูนย์สูตร ที่วัดค่าของมุมออกไปทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ค่าของมุมจะสิ้นสุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ มีค่าเชิงมุม 90 องศาพอดี ดังนั้นการใช้ค่าระยะเชิงมุมของละติจูดอ้างอิง บอกตำแหน่งต่างๆ นอกจากจะกำหนดเรียกค่าวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา แล้วจะบอก ซีกโลกเหนือหรือใต้กำกับด้วยเสมอ เช่น ละติจูดที่ 30 องศา 00 ลิปดา 15 ฟิลิปดาเหนือ
ส่วนศูนย์กำหนดของลองกิจูด (Origin of Longitude) นั้น ก็กำหนดขึ้นจากแนวระนาบทางตั้งที่ผ่านแกนหมุนของโลกตรงบริเวณตำแหน่งบนพื้นโลกที่ผ่านหอดูดาว เมืองกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ เรียกศูนย์กำเนิดนี้ว่า เส้นเมริเดียนเริ่มแรก (Prime Meridian) เป็นเส้นที่แบ่งโลกออกเป็นซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออกค่าระยะเชิงของลองกิจูดเป็นค่าที่วัดมุมออกไปทางตะวันตก และตะวันออกของเส้นเมอริเดียนเริ่มแรก วัดจากศูนย์กลางของโลกตามแนวระนาบ ที่มีเมอริเดิยนเริ่มแรกเป็นฐานกำเนิดมุมค่าของมุมจะสิ้นสุดที่เส้นเมอริเดียนตรงข้ามเส้นเมริเดียนเริ่มแรกมีค่าของมุมซีกโลกละ 180 องศา การใช้ค่าอ้างอิงบอกตำแหน่งก็เรียกกำหนดเช่นเดียวกับละติจูด แต่ต่างกันที่จะต้องบอกเป็นซีกโลกตะวันตก หรือตะวันออกแทน เช่น ลองกิจูดที่ 90 องศา 00 ลิปดา 00 ฟิลิปดาตะวันตก
ระบบพิกัด (Coordinate System) เป็นระบบที่สร้างขึ้นสำหรับใช้อ้างอิงในการกำหนดตำแหน่ง หรือ บอกตำแหน่งพื้นโลกจากแผนที่มีลักษณ์เป็นตารางโครงข่ายที่เกิดจากตัดกันของเส้นตรงสองชุดที่ถูกกำหนดให้วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันออก- ตะวันตก ตามแนวของจุดศูนย์กำเนิด (Origin) ที่กำหนดขึ้น ค่าพิกัดที่ใช้อ้างอิงในการบอกตำแหน่งต่างๆ จะใช้ค่าของหน่วยที่นับออกจากจุดศูนย์กำเนิดเป็นระยะเชิงมุม (Degree) หรือเป็นระยะทาง (Distance) ไปทางเหนือหรือใต้และตะวันออกหรือตะวันตก ตามตำแหน่งของตำบลที่ต้องการหาค่าพิกัดที่กำหนดตำแหน่งต่างๆ จะถูกเรียกอ้างอิงเป็นตัวเลขในแนวตั้งและแนวนอนตามหน่วยวัดระยะใช้วัด
สำหรับระบบพิกัดที่ใช้อ้างอิงกำหนดตำแหน่งบนแผนที่ที่นิยมใช้กับแผนที่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ คือ

1) ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate)
2) ระบบพิกัดกริด (Grid Coordinate) ในที่นี้จะพูดถึง พิกัดกริดแบบ UTM (Universal
Transverse Mercator) ซึ่งใช้กับแผนที่ภูมิประเทศชุด L 7017 ของกรมแผนที่ทหาร
การหาตำแหน่งของสถานที่บนพื้นโลกโดยการอ่านจากแผนที่ ที่นิยมใช้กันทั้งในงานแผนที่
ทั่วไปและงานของ GIS&RS มี 2 แบบ คือ
1. พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate)
2. พิกัดกริด UTM (UTM Grid Coordinate) พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate) โดยที่เราต้องอ่านค่าของละติจูดและลองกิจูดตัดกัน ทั้ง 2 แกน มีหน่วยที่วัด เป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา ตามลำดับ
หน่วยวัด : 60 ฟิลิปดา = 1 ลิปดา
60 ลิปดา = 1 องศา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มี ว.8 ใด ให้ส่งมาจะ 61 อย่างมากมายครับ.
เทียนทะเลต้องการเพียงแค่คนมี "ใจ" อย่างอื่นเอาไว้ทีหลัง

สน.ท่าข้ามจัดฝึกอบรมตำรวจชุมชนสะแกงาม(ตชต.สะแกงาม)

Photobucket
วันอาทิตย์ที่ 20ธันวาคม 2552 เวลา 08.30น.
ถึงเวลา 17.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการสายตรวจ
Photobucket
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
พ.ต.ต. ธนเดช ทีนาคะ สวป.ฯ
พ.ต.ต. ตรง ฝึกฝน สวป ฯ
ร.ต.ท.อัครวิทน์ พีระภานนท์ รอง สวปฯ

ร่วมกันจักการฝึกอบรม ตำรวจชุมชนสะแกงาม
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการแก้ไขและป้องกันปัญหาอาชญากรรม ตามคำรับรองการปฏิบัติของสถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม ประจำปี 2553
Photobucket
ถ่ายภาพหมู่
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
กับโฉมหน้า ตชต.สะแกงามทุกนาย.
Photobucket
พ.ต.อ.ยุคลเดช ตันสกุล ผกก.สน.ท่าข้าม
กำลังอบรมให้กับ ตชต.สะแกงาม.

พบเจอ!!เหตุการณ์ต่างๆ นำมาแบ่งปันให้ชมกันได้ครับ

หากพบเจอเหตุการณ์ต่างๆสามารถร่วมแบ่งปันเหตุการณ์ต่างๆได้ที่นี่โดยมีขั้นตอนดังนี่
1 ถ่ายภาพมากี่ภาพก็ได้ แบบชัดเจนที่สุด
2 ตั้งสติรวบรวมรายละเอียดทั้งหมด(เท่าที่จะนำมาได้)
3 แนบไฟล์ เรียบร้อย
4 ส่งมาที่ bomship@hotmail.com
5 ทางเราจะรับและพิจณา .....